วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ถังหมักแก๊สชีวภาพ


       

          ก๊าซชีวภาพ (อังกฤษ: Biogas หรือ digester gas) หรือ ไบโอก๊าซ คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน(anaerobic digestion) โดยทั่วไปจะหมายถึง ก๊าซ มีเทน ที่เกิดจาก การหมัก (fermentation) ของ สารอินทรีย์ โดยกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่มีสารอินทรีย์หมักหมมกันเป็นเวลานานก็อาจเกิดก๊าซชีวภาพ แต่นี่เป็นเพียงแค่หลักการทางทฤษฏี
          องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน(CH4) ประมาณ 50-70% และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ประมาณ 30-40% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดเจน(H2) ออกซิเจน(O2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ไนโตรเจน(N) และไอน้ำ

        ก๊าซชีวภาพมีชื่ออื่นอีกคือ ก๊าซหนองน้ำ และ มาร์ชก๊าซ (marsh gas) ขึ้นกับแหล่งที่มันเกิด กระบวนการนี้เป็นที่นิยมในการเปลี่ยน ของเสีย ประเภทอินทรีย์ทั้งหลายไปเป็นกระแสไฟฟ้า นอกจากกำจัดขยะได้แล้วยังทำลาย เชื้อโรค ได้ด้วย การใช้ก๊าซชีวภาพเป็น การบริหารจัดการของเสีย ที่ควรได้รับการสนับสนุนเพราะไม่เป็นการเพิ่มก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศที่เป็นต้นเหตุของ ปรากฏการณ์เรือนกระจก(greenhouse effect) ส่วนการเผาไหม้ ก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลักจะสะอาดกว่า


อุปกรณ์

1. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 200 ลิตร 1 ใบ พร้อมฝาปิด 
2. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 200 ลิตร 1 ใบ เปิด
3. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 180 ลิตร 1 ใบ
4. ท่อ PVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2  นิ้ว 
5. ข้อต่อท่อ PVC  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2  นิ้วเกลียวนอกและเกลียวใน จำนวน 4 ตัว ข้อต่องอ 1 ตัว
6. ท่อ PVC 4 เกลียวนอกเกลียวใน วาวเปิด-ปิด
7. ท่อยางน้ำสายอ่อน
8. กาวซิลิโคน


หลักการทำงาน




วิธีทำถังหมักแก๊ส


1. เจาะถังด้านบนเพื่อใส่มูลโค ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว ยาวเกือบถึงก้นถัง ด้านบนที่เติมมีฝาปิด เพื่อใส่เศษอาหารแต่ละมื้อ กับช่องประคองแกนกวนปฏิกูล
2.  เจาะถังด้านข้างถัง ขนาด 2 นิ้ว เพื่อให้สิ่งปฏิกูลที่ย่อยสลายแล้วไหลออกและใช้ข้อต่องอสูงขึ้นบน
3. เจาะรูถังด้านบน ขนาด 4 หุน ใส่วาวปิดปิดด้านบนเพื่อนำแก๊สไปใช้หรือเก็บ
4. ถังสำหรับใส่สิ่งปฏิกูล เป็นถังหูหิ่ว 
5. สายยางอ่อนเพื่อใช้ต่อสายไปใช้และเก็บ
วิธีทำถังเก็บแก๊ส
1. นำถัง 200 ลิตร เปิดฝาและใส่น้ำให้เต็ม
2. ใช้ถัง 180 ลิตร เปิดฝาและคว้ำลงในถังแรก
3. เจาะรูก้นถัง 180 ลิตร 1 รู เพื่อใช้แก๊สและเก็บ
วิธีหมักมูลสัตว์ที่ทำให้เกิดแก๊ส 
1. ใช้มูลโคสด ผสมกับน้ำเปล่าอัตราส่วนผสมครั้งแรก น้ำเปล่า 35 ลิตร/มูลโคสด 35 ลิตร ผสมให้เข้ากัน  ใส่ครั้งต่อไปอาทิตย์ละ 1 ครั้ง อัตรา น้ำเปล่า 5 ลิตร/มูลโคสด 5 ลิตร ผสมกันให้เข้ากัน เปิดช่องทางระบายด้านข้างเพื่อให้ปฏิกูลส่วนเกินไหลออกมา ปริมาณ 1 กก. 
2. เกิดการย่อยสลาย สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี



 

ผลที่ได้รับ 


1. เป็นการส่งเสริมแนวความคิดในการประยุกต์ใช้พลังงาน และการใช้สิ่งปฏิกูลให้เกิดประโยชน์
2. ประยุกต์ใช้ในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ในระยะเวลา 3 ปี จะประหยัดกว่าการซื้อแก๊สขนาดบรรจุ 15 กก. คิดเป็นเงิน 1,800 - 2,300 บาท)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น