วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ H1N1

กระบวนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น 1)
Pandemic influenza vaccine manufacturing process



 

 

วันที่ 6 สิงหาคม 2552 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์


        การผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) ใช้เวลาในการผลิตประมาณ 5-6 เดือน (นับจากเริ่มแยกเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้จากผู้ป่วยระยะแรกๆ ของการระบาด)  เพื่อการผลิตวัคซีนออกมาใช้ในรุ่นแรก   โดยมีขั้นตอนการผลิต ดังนี้

1. ภารกิจของศูนย์ความร่วมมือทางห้องปฏิบัติการขององค์การอนามัยโลก (Activities at WHO Collaborating Centers)
      1.1 การจำแนกไวรัสสายพันธุ์ใหม่ - มีการตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและห้องปฏิบัติการทั่วโลก เพื่อสุ่มตรวจตัวอย่างเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการขององค์การอนามัยโลก ขั้นตอนแรกนี้จะเริ่มขึ้นเมื่อศูนย์ห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจพบไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่แตกต่างจากสายพันธุ์เดิมที่พบ และรายงานการตรวจพบนี้ไปยังองค์การอนามัยโลก
      1.2 การเตรียมเชื้อไวรัสสำหรับผลิตวัคซีน - ปรับเชื้อไวรัสในการผลิตวัคซีนเพื่อให้ไวรัสมีอันตรายให้น้อยที่สุด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในไข่ไก่ฟัก โดยไวรัสจะถูกเพาะเลี้ยงรวมกับไวรัสมาตรฐานในห้องปฏิบัติการให้เจริญพร้อมกัน หลังจากนั้นจะได้ไวรัสลูกผสมซึ่งจะประกอบด้วยส่วนประกอบภายในและภายนอกของสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  ซึ่งขั้นตอนการเตรียมนี้ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
      1.3 การตรวจสอบสายพันธุ์วัคซีน หลังจากขั้นตอนการเตรียม ไวรัสลูกผสมจะถูกตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีส่วนประกอบภายนอกเป็นของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีความปลอดภัย และเจริญเติบโตได้ในไข่ไก่  ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาอีกประมาณ 3 สัปดาห์  ไวรัสเพื่อผลิตวัคซีนนี้ จะถูกกระจายไปให้ผู้ผลิตวัคซีนต่อไป
      1.4 การเตรียมรีเอเจนท์ หรือสารเพื่อทดสอบวัคซีน ในเวลาเดียวกัน ศูนย์ความร่วมมือทางห้องปฏิบัติการขององค์การอนามัยโลกจะผลิตสารมาตรฐานรีเอเจนท์ (Reagent) ซึ่งจะเป็นตัวอ้างอิงที่ให้ผู้ผลิตวัคซีนสามารถใช้วัดปริมาณวัคซีนที่ผลิตได้ และประกันได้ว่าแต่ละหลอดมีปริมาณโด๊สวัคซีนที่ถูกต้อง  ขั้นตอนนี้ใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน และเป็นขั้นตอนคอขวดสำหรับผู้ผลิตวัคซีน
 2.  ภารกิจของผู้ผลิตวัคซีน (Activities at vaccine manufacturers)
     2.1 ปรับสภาวะการผลิตให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของไวรัส-หลังจากที่ผู้ผลิตวัคซีนได้รับไวรัสลูกผสมจากห้องปฏิบัติการขององค์การอนามัยโลกแล้ว ผู้ผลิตจะหาสภาวะที่เหมาะสมให้ไวรัสเจริญเติบโตได้ในไข่  ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
     2.2 การผลิตวัคซีน - สำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทั่วไป จะใช้ไข่ไก่ฟักที่สมบูรณ์มีอายุ 9-12 วัน ไวรัสเพื่อผลิตวัคซีนจะถูกฉีดเข้าไปในไข่ไก่ฟักจำนวนหลายพันฟอง จากนั้นเพาะบ่มไข่ที่ได้รับไวรัสแล้วเป็นเวลา 2-3 วัน เพื่อรอให้ไวรัสเพิ่มจำนวนในไข่ หลังจากนั้นไข่ขาวซึ่งจะมีไวรัสเพื่อผลิตวัคซีนหลายล้านเซลล์จะถูกนำมาแยกไวรัสออก ไวรัสที่มีความบริสุทธิ์จะถูกฆ่าด้วยสารเคมี โปรตีนที่อยู่ภายนอกของไวรัสจะถูกทำให้บริสุทธิ์ และโปรตีนที่ได้จำนวนหลายร้อย หรือพันลิตร จะถูกนำมาใช้เป็นแอนติเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของวัคซีน ในการผลิตแอนติเจนแต่ละรุ่นจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และจะเริ่มผลิตรุ่นใหม่ในทุกๆ 2-3 วัน ขนาดของแต่ละรุ่นที่ได้ขึ้นกับปริมาณไข่ไก่, ไวรัสที่ผู้ผลิตได้รับ และการเพาะบ่ม  ปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญคือผลผลิตของไวรัสที่ได้ต่อไข่ 1 ฟอง ขั้นตอนการผลิตนี้จะถูกทำซ้ำจนกว่าจะได้ปริมาณวัคซีนที่ต้องการ
    2.3 การควบคุมคุณภาพ - เริ่มขึ้นเมื่อได้รับรีเอเจนท์จากห้องปฏิบัติการขององค์การอนามัยโลก แต่ละรุ่นจะถูกตรวจสอบ รวมถึงการตรวจสอบความปลอดเชื้อของแอนติเจนที่ผลิตได้   ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์
    2.4 การบรรจุและการกระจายวัคซีน - วัคซีนที่ผลิตได้จะถูกทำให้เจือจางให้ได้ปริมาณแอนติเจนที่กำหนด บรรจุลงไปในหลอด/เข็มฉีดยา และติดฉลาก จากนั้นทำการสุ่มตรวจสอบ ในประเด็นดังนี้
- ความปลอดเชื้อ
- ความเข้มข้นของปริมาณโปรตีน
- ความปลอดภัย โดยการทดสอบกับสัตว์ทดลอง
ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์
    2.5 การศึกษาทางคลินิก- ประเทศต่างๆ ได้นำวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตขึ้นไปทดสอบในอาสาสมัครจำนวนหนึ่ง เพื่อดูประสิทธิภาพ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ในขณะที่บางประเทศก็จะทดสอบเป็นจำนวนมากในแต่ละปี  คาดว่าวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะใช้หลักการเดียวกัน
3. ภารกิจขององค์กรตรวจสอบและรับรองวัคซีน (Activities at regulatory agencies - regulatory approval)
ก่อนที่วัคซีนจะสามารถจำหน่าย หรือฉีดให้ประชาชนได้ ต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานก่อน แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานตรวจสอบตามกฎเกณฑ์มาตรฐาน หากวัคซีนที่ผลิตขึ้นมีขั้นตอนการผลิต โรงงานผลิตสถานที่เดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ขั้นตอนนี้จะเร็วมากเพียง 1-2 วัน องค์กรตรวจสอบในบางประเทศอาจจะต้องการการตรวจสอบทางคลินิกก่อนให้การรับรองวัคซีน ซึ่งจะเพิ่มเวลาก่อนที่วัคซีนจะถูกกระจายออกไป กระบวนการผลิตเต็มรูปแบบ หากไม่พบปัญหา หรืออุปสรรคใดๆ จะใช้เวลา 5-6 เดือน สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะสามารถกระจาย และนำมาใช้ได้







ที่มา:World Health Organization. Safety of Pandemic Vaccines. 2009 Aug [cited 2009 Aug11]; Available from: http://www.who.int/csr/disease/swineflu/notes/h1n1_vaccine_20090806/en/index.html แปลและเรียบเรียงโดย   สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่  กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข
 World Health Organization. Pandemic influenza vaccine manufacturing process and timeline.2009 Aug[cited2009Aug11] ;Available from: http://www.who.int/csr/disease/swineflu/notes/h1n1_vaccine_20090806/en/index.html

การผลิตไวน์

         เหล้าองุ่นหรือ ไวน์( wine ) คือเครื่องดื่มที่เกิดจากการหมักน้ำองุ่นด้วยยีสต์ คำว่า ไวน์ จึงไม่ควรเรียกรวมไปถึงเหล้าที่ทำมาจากผลไม้อื่นๆ ปกติจะหมายถึงเหล้าที่ทำจากองุ่นเท่านั้น

         ก่อนอื่น อยากจะให้ทุกท่านมาทำความเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับไวน์กันก่อนนะครับ เหล้าองุ่นในภาษาอังกฤษเรียกว่า Wine ครับ ไวน์นั้นผลิตจากผลองุ่นซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Grape ครับ (ใครไม่รู้บ้างเนี่ย) สถานที่ที่ใช้ปลูกองุ่นนั้นเรียกว่า Vineyard (อ่านว่าวินยาร์ด) หรือไร่องุ่นนั่นเอง ส่วนคำว่า Winery หมายถึงโรงกลั่นเหล้าองุ่นซึ่งยังหมายความรวมถึงสถานที่เก็บและที่ให้ชิมไวน์ด้วย ดังนั้นเวลาจะบอกว่าอยากไปเที่ยวชมไร่ไวน์นั้น เราต้องบอกว่าไปที่ Winery เพราะจริงๆแล้วเราไม่ได้ไปเดินเที่ยวในไร่องุ่น แต่เราไปเดินชิมหรือซื้อไวน์กันเสียมากกว่า (เว้นแต่ท่านจะชอบไปเดินในไร่องุ่นจริงๆ)
        โดยทั่วไปเหล้าองุ่นสามารถแยกตามสีคือ เหล้าองุ่นแดง( red wine ) เหล้าองุ่นสีชมพู หรือโรเซ่ไวน์ ( rose หรือ pink wine ) และเหล้าองุ่นขาว( white wine ) เป็นเหล้าที่มีสีขาวไปจนถึงเหลืองอ่อนๆ ส่วนรสชาติมีสองรสคือ ชนิดหวาน ( sweet wine ) และชนิดไม่หวาน ( dry wine ) นอกจากนี้เหล้าองุ่นยังสามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
  • Table wine คือเหล้าองุ่น อาจมีสีแดงสีชมพูหรือขาว มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 7- 15 % บางครั้งเรียกว่า still wine คือไวน์ที่ไม่มีฟองก๊าซ ใช้ดื่มควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารเพื่อทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น 
  • Sparking wine คือเหล้าองุ่นที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์( CO2)ประกอบอยู่ด้วย ส่วนมากเป็นเหล้าองุ่นแดงหรือชมพูก็มีบ้าง มีปริมาณแอลกอฮอล์ใกลเคียงกับ table wine แต่ต้องทำการหมัก 2 ครั้ง เพื่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)มากขึ้น บางครั้งก็อัดก๊าซเข้าไปซึ่งwineประเภทนี้เรียกว่าแชมเปญ เหล้าองุ่นชนิดนี้ใช้ดื่มฉลองในโอกาสสำคัญต่างๆ
  • Fortified wine คือเหล้าองุ่นแดงหรือขาวที่ผสมบรั่นดีหรือวอดก้า มีปริมาณแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 16-23% หากผสมบรั่นดีในระยะที่เหล้าองุ่นมีปริมาณน้ำตาลสูง ไวน์ที่ได้จะมีรสหวานเรียกว่า dessert wine นิยมดื่มหลังอาหาร หากผสมบรั่นดีในระยะที่น้ำตาลในไวน์เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง เรียก appetizer wine
นอกจากนี้ยังมี fortified wine ที่ปรุงด้วยเครื่องเทศ เปลือกไม้ หรือรากไม้ ลงในขั้นตอนการผลิตจะเรียก aromatic wine

การทำไวน์องุ่น


พร้อม...หมัก


     เมื่อเราคั้นน้ำองุ่นออกมาก็จะนำไปหมักในถังหมัก ที่เรียกว่า วัตส์ ซึ่งมักจะเป็นถังไม้โอ๊ก น้ำที่ได้จากการหมัก เรียกว่า มัสต์ ซึ่งประกอบด้วยตัวยีสต์จำนวนมากนับล้านล้านตัว จะทำปฏิกิริยาละลายน้ำตาลจากความหวานของน้ำองุ่นให้เป็นแอลกอฮอล์โดยต้องหมักในสภาพที่ไม่ใช้อากาศ หรือออกซิเจน ถ้ามีอากาศ หรือออกซิเจน จะทำให้ยีสต์เปลี่ยนน้ำตาล ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ เท่านั้น


เรื่องของยีสต์


ยีสต์ยังแบ่งได้เป็นยีสต์ดีกับยีสต์ไม่ดีอีกด้วย ยีสต์ดีจะเรียกว่า ไวน์ยีส เป็นจุดเริ่มของแอลกอฮอล์ ส่วนยีสต์ไม่ดีที่ต้องกำจัดเรียกว่า ไวลด์ยีสต์ เพราะเป็นตัวการที่ทำให้ไวน์เสียรสชาติ หรือที่เขาเรียกกันว่า ออฟเทสต์ จึงต้องกำจัดด้วยการใส่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลงไปผสมในน้ำหมัก ซึ่งการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพื่อกำจัดไวลด์ยีสต์นั้น เป็นวิธีการทำกันมาเนิ่นนานนับเป็นร้อยปี ไม่มีอันตรายและไม่ทำให้ไวน์เสียรสชาติด้วย
      เมื่อกำจัดไวลด์ยีสต์เป็นที่เรียบร้อย ก็จะเหลือแต่ไวน์ยีสต์ สำหรับดำเนินการหมักต่อไป โดยต้องหมักในอุณหภูมิระหว่าง 70-80 องศาฟาเรนไฮต์ ไวน์ยีสต์จึงจะทำงาน ได้ดี ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไป ไวน์ยีสต์จะรวมตัวกันเป็นก้อนผลึกในน้ำไวน์ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านั้นไวน์ยีสต์จะอ่อนกำลัง ทำให้การหมักไม่สมบูรณ์ ปริมาณของแอลกอฮอล์จะไม่ขึ้นถึงจุดที่ต้องการ มัสต์ อาจจะเสียก่อนก็ได้
อุณหภูมิจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญ ต้องควบคุมไม่ให้ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป บางแห่งที่อุณหภูมิของอากาศขึ้นเร็วลงเร็ว ก็จะต้องเตรียมเครื่องทำความเย็นเอาไว้เพื่อลดความร้อนในถังหมัก


ฆ่าเชื้อก่อนบรรจุขวด

      เมื่อหมักจนได้ที่ตามต้องการแล้ว บางคนอาจจะใช้ดื่มเลย เรียกว่า ไวน์สด แต่ก็อาจทำให้ท้องเสียได้ และไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน จึงควรต้มฆ่าเชื้อยีสต์ก่อน การต้มจะต้มแค่อุณหภูมิ 60-63 องศาเซลเซียส ไม่ต้มให้เดือด เพระแอลกฮอล์จะระเหย นาน 15-20 นาที และช่วงประมาณ 40 องศาเซลเซียส (ใช้เทอโมมิเตอร์วัด) จะต้องตีไข่ขาว แล้วใส่ผสมลงไปในไวน์ กะประมาณ 1 ฟอง ต่อไวน์ 10 ลิตร แล้วรอจนถึง 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 15 นาที จึงปิดไฟแล้วถ่ายใส่ขวดแก้ว แล้วปิดฝาให้มิดชิดให้แน่น
      จากนั้นไวน์เลิศรสก็นอนรอลูกค้าผู้มีรสนิยมมาเลือกซื้อ ดม ชิม อิ่มเอมกับความสุนทรีย์..และ..มีระดับเป็นลำดับต่อไป




ที่มา : http://th.jobsdb.com/th/EN/Resources/JobSeekerArticle/hospitality47.htm?ID=760
          http://www.oknation.net/blog/xcornellian/2009/04/19/entry-2
          http://www.ku.ac.th/e-magazine/november44/know/wine1.html

GMOs

จีเอ็มโอ ( GMOs )


      สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (อังกฤษ: Genetically Modified Organisms – GMO) คือสิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่าเทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant) ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว โมเลกุลดีเอ็นเอจากต้นกำเนิดต่างๆ กันจะถูกรวมเข้าด้วยกันในหลอดทดลอง แล้วใส่ลงไปในโมเลกุลหนึ่งตัวเพื่อสร้างยีนขึ้นมาใหม่ จากนั้นดีเอ็นเอที่ถูกดัดแปลงก็จะถูกถ่ายลงไปในสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดการแสดงลักษณะที่เกิดขึ้นจากการดัดแปลงที่แปลกใหม่ นิยามของคำว่า GMO ในอดีตถูกใช้เพื่อเรียกสิ่งมีชีวิตที่ถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมผ่านการผสมข้ามพันธุ์ที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป หรือการผสมพันธุ์แบบมิวเตเจนีซิส (การให้กำเนิดแบบกลายพันธุ์) เนื่องจากวิธีการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนการค้นพบเทคนิคการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ

      หลักการทั่วไปของการผลิต GMO คือการเติมองค์ประกอบทางพันธุกรรมเข้าไปในจีโนมของสิ่งมีชีวิตเพื่อสร้างลักษณะใหม่ขึ้นมา การศึกษาทางด้านพันธุวิศวกรรมทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หลายประการด้วยกันรวมไปถึงการค้นพบดีเอ็นเอและการสร้างแบคทีเรียตัวแรกที่ถูกรีคอมบิแนนท์ใน พ.ศ. 2516 เป็นแบคทีเรียอีโคไลที่แสดงยีนแซลมอนเนลลาออกมา ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงกันในแวดวงนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากพันธุวิศวกรรม ซึ่งนำไปสู่การถกประเด็นอย่างละเอียดในการประชุมอสิโลมาร์ที่เมืองแปซิฟิกโกรฟ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา คำแนะนำที่สรุปได้จากการประชุมเสนอว่าให้รัฐบาลทำการเฝ้าสังเกตการวิจัยรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอจนกว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะได้ถูกรับรองว่าปลอดภัย จากนั้นเฮอร์เบิร์ต บอยเออร์ได้ทำการก่อตั้งบริษัทแห่งแรกที่ใช้เทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ คือบริษัทจีเน็นเทค และใน พ.ศ. 2521 ทางบริษัทจึงประกาศถึงการสร้างแบคทีเรียสายพันธุ์อีโคไลที่สามารถผลิตอินซูลินที่เกิดจากโปรตีนในร่างกายมนุษย์ได้
ในปี พ.ศ. 2529 บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดเล็กชื่อว่า Advanced Genetic Sciences แห่งเมืองโอ๊คแลนด์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการทดลองภาคปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าแบคทีเรียที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมแล้วจะสามารถป้องกันพืชจากความเสียหายที่เกิดจากแบคทีเรียไอซ์ไมนัสได้หรือไม่ ซึ่งการทดลองนี้ถูกชะลอไปหลายต่อหลายครั้งจากคู่แข่งในวงการเดียวกัน ในปีเดียวกัน การทดลองภาคปฏิบัติโดยบริษัท Monsanto เพื่อทดสอบว่าจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมสามารถป้องกันแมลงได้หรือไม่ ได้ถูกยกเลิกไป

ประโยชน์ของ GMO

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ GMO นั้นมีความหลากหลายอย่างมาก ซึ่งรวมไปถึงสัตว์ทีได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมโดยวิธีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอเช่น หนู, ปลา พืชตัดแต่งพันธุกรรม หรือจุลินทรีย์หลายชนิดเช่นแบคทีเรีย และเชื้อรา สาเหตุของการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ GMO นั้นมีหลายประการด้วยกัน โดยมีประการสำคัญคือการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในการวิจัยเพื่อตอบคำถามเชิงพิ้นฐานหรือเชิงประยุกต์ของชีววิทยาและวิชาแพทยศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การผลิตเอนไซม์ทางเภสัชกรรมและอุตสาหกรรม และการนำไปใช้โดยตรง (ซึ่งมักตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์) เพื่อการพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ (เช่น การบำบัดยีน) หรือผลผลิตทางเกษตรกรรม (เช่น ข้าวสีทอง) นิยามของคำว่า "สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม" ไม่จำเป็นที่จะต้องรวมไปถึงการบรรจุยีนเป้าหมายจากสายพันธุ์หนึ่งไปยังอีกสายพันธุ์หนึ่งเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ยีนจากแมงกะพรุน ประกอบไปด้วยโปรตีนเรืองแสงเรียกว่า GFP (Green Fluorescent Protein) ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมต่อกับยีนอื่นโดยตรงได้และทำให้ยีนนี้สามารถแสดงลักษณะร่วมกันกับยีนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อระบุถึงตำแหน่งของโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นโดยยีนที่มี GFP เชื่อมอยู่ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วิธีการเหล่านี้รวมถึงวิธ๊การอื่นๆ ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักชีววิทยาในหลายๆ สาขาการวิจัย รวมไปถึงผู้ที่ศึกษากลไกของมนุษย์และโรคอื่นๆ หรือกระบวนการพื้นฐานเชิงชีววิทยาในเซลล์ยูคาริโอตและโพรคาริโอต

สัตว์ตัดแต่งพันธุกรรม

     สัตว์ตัดแต่งพันธุกรรมถูกใช้เป็นแบบทดลองในการทดสอบฟีโนไทป์กับยีนซึ่งไม่ทราบหน้าที่การทำงานหรือเพื่อสร้างสัตว์ที่สามารถรองรับสารประกอบหรือความเครียดได้ในระดับหนึ่งเพื่อใช้สำหรับทดลองในการวิจัยเครื่องสำอางและการแพทย์เชิงชีวภาพ ส่วนการนำไปใช้อื่นๆ รวมไปถึงการผลิตฮอร์โมนของมนุษย์เช่น อินซูลิน เป็นต้น
สัตว์ที่ถูกใช้เป็นแบบพันธุกรรมในการวิจัยทางพันธุศาสตร์มักจะเป็นแมลงวันผลไม้ที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม ซึ่งพวกมันถูกใช้เพื่อการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่อยู่ในการพัฒนา สาเหตุที่แมลงวันถูกใช้ในการทดลองมากกว่าสัตว์อื่นก็เนื่องมาจากเหตุผลทางจริยธรรม, สามารถเพาะพันธุ์ได้ง่าย ทั้งยังเป็นเพราะว่าจีโนมของแมลงวันนั้นค่อนข้างที่จะเรียบง่ายกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

พืชตัดแต่งพันธุกรรม

    พืชตัดแต่งพันธุกรรมถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในหลายๆ วัตถุประสงค์ ได้แก่ความต้านทานต่อแมลง, ยากำจัดวัชพืชและสภาพสิ่งแวดล้อมที่เลวร้าย เพื่อเพิ่มระยะเวลาที่พืชสดใหม่ เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ฯลฯ ตั้งแต่การเพาะปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 พืชตัดแต่งพันธุกรรมที่ทนทานต่อยากำจัดวัชพืชกลูโซฟิเนทและไกลโฟเซท และพันธุ์ที่สามารถผลิตพิษบีที ซึ่งเป็นสารกำจัดแมลง มียอดขายสูงและครองตลาด ไม่นานมานี้ พืชตัดแต่งพันธุกรรมสายพันธุ์ใหม่มีทีท่าที่จะให้ผลกำไรกับลูกค้า และวัตถุประสงค์ทางอุตสาหกรรมนั้นพร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ตลาด
ในเมื่อพืชตัดแต่งพันธุกรรมเติบโตขึ้นมาในทุ่งเปิด จึงจะพบปัญหาเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเชิงสภาพแวดล้อม ดังนั้น ประเทศส่วนใหญ่จึงต้องให้นักศึกษาตรวจความปลอดภัยเชิงชีวภาพก่อนที่จะได้รับการอนุมัติพืชตัดแต่งพันธุกรรมสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมักตามมาด้วยการตรวจดูเพื่อค้นหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะในทวีปยุโรป ที่การอยู่ร่วมกันของพืชตัดแต่งพันธุกรรมและพืชธรรมดานั้นทำให้เกิดข้อกังวลมากมาย เนื่องจากมีตัวบทกฎหมายเฉพาะตัวสำหรับพืชตัดแต่งพันธุกรรม และความต้องการสูงของลูกค้าที่มีอิสระในการเลือกอาหารที่มีผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรมหรือไม่ การชั่งตวงวัดนั้นมีความจำเป็นในการแยกแยะพืชตัดแต่งพันธุกรรมและพืชอินทรีย์ทั่วไปและอาหารที่ได้มา

พืช GMOs อันตรายจริง หรือ ?? 



ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
         http://www.gotoknow.org/blogs/posts/165712

พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)




         พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) หมายถึง กระบวนการทางชีววิทยาที่เกี่ยข้องกับการตัดต่อยีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเข้ากับยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้ยีนที่มีสมบัติตามที่ต้องการ และขยายยีนให้มีปริมาณมากพอที่จะนำไปทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น และได้ปริมาณการผลิตสูงขึ้น ตามต้องการ สิ่งมีชีวิตที่ได้จากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมเรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMOs(genetically modified organisms)

ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ

  1.  ด้านเกษตร
  • การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์และพืชโดยใช้เทคนิคต่างๆ
  • การคัดเลือกพันธุ์ผสม
  • การโคลนนิ่ง
  • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • การใช้พันธุวิศวกรรม
  • การฝากถ่ายตัวอ่อน

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ



    การถ่ายฝากตัวอ่อน (Embryo transfer)


รูปที่ 1
รูปที่ 2

ประโยชน์การถ่ายฝากตัวอ่อน (Embryo Transfer)

  • ขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก
  • ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขยายพันธุ์
  • ช่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่างๆที่ใกล้สูญพันธุ์
  • ฯลฯ
      2. ด้านอุตสาหกรรม
  • ผลผลิตจากด้านเกษตรกรรม
  • การใช้จุลินท รีย์ และการปรับปรุงสายพันธุ์จุลินท รียรีย์์
      3. ด้านอาหาร
  • เป็นผลพลอยได้จากด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
     4.ด้านการแพทย์
  • การผลิตฮอร์โมน การผลิตวัคซีน วิตามินและยาปฏิชีวนะที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยและมีปริมาณที่มากพอสำหรับผู้ป่วย
  • การตรวจสอบสภาวะพันธุกรรมของโรคต่างๆ จากการผลิตชิ้นส่วนของยีน
  • การแก้ไขภาวะผิดปกติและการรักษาโรคต่างๆ ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากการทำาแผนที่ยีน การรักษาด้วยยีนหรือยีนบกาบำบัด

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/contents/genetics-905c.html
          http://www.ds.ru.ac.th/download/sat52/scim4/24-06-52-2.pdf
          http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
           http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/images/geneticengineeringbiology-2.jpg
          http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/images/tranfer1.jpg
          http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/images/tranfer2.jpg