วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

DNA replication


สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร 

          สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (deoxy-ribonucleic acid; DNA) เป็นกรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอส่วนใหญ่อยู่ในรูปโครโมโซม (chromosome) วางตัวอยู่ในส่วนนิวเคลียสภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอมีหน้าที่สำคัญ ๒ ประการ คือ

          ๑. การจำลองตัวเอง (DNA replica- tion) ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตมีความสามารถสร้างและจำลองตัวมันเอง ขณะเกิดกระบวนการแบ่งเซลล์ เพื่อสร้างดีเอ็นเอที่เหมือนเดิมทุกประการให้แก่เซลล์ใหม่

          ๒. การถ่ายทอดข้อมูลผ่านอาร์เอ็นเอ (transcription) ดีเอ็นเอสามารถถูกถอดรหัสเพื่อสร้างเป็นอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid; RNA) อาร์เอ็นเอที่ได้นี้จะทำหน้าที่กำหนดการเรียงตัวของกรดอะมิโนในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งโปรตีนจะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ และเป็นสารเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีหรือเอนไซม์ (enzyme) ในสิ่งมีชีวิต ด้วยหน้าที่ทั้ง ๒ ประการของดีเอ็นเอ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถสืบทอดลักษณะประจำพันธุ์ และดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้

           ดีเอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลิโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งเป็นสารประกอบไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base) แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มพิวรีนเบส (purine) ได้แก่ ไทมีน (thymine; T) ไซโทซีน (cytosine; C) และกลุ่มไพริมิดีนเบส (pyrimidine) ได้แก่ อะดีนีน (adenine; A) กัวนีน (guanine; G) โดยสารประกอบไนโตรจีนัสเบสนี้จะรวมตัวกับน้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) และกรดฟอสฟอริก (phosphoric acid) เป็นนิวคลิโอไทด์อยู่ในดีเอ็นเอ นิวคลิโอไทด์จึงมีอยู่ ๔ ชนิดตามชนิดของไนโตรจีนัสเบส คือ อะดีโนซีนไทรฟอสเฟต (adenosine triphosphate; ATP) กัวโนซีนไทรฟอสเฟต (guanosine triphosphate; GTP) ไซโทซีนไทรฟอสเฟต (cytosine triphosphate; CTP) และไทมิดีนไทรฟอสเฟต (thymidine triphos- phate; TTP) การเรียงลำดับของนิวคลิโอไทด์ ทั้ง ๔ ชนิด ส่งผลต่อการเกิดความหลากหลาย และสร้างความแตกต่างในลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอ ซึ่งมีความจำเพาะในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด

          โครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบไปด้วย สายพอลินิวคลิโอไทด์ที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของนิวคลิโอไทด์หลายๆ หน่วย ด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์ โดยเกิดจากสายพอลินิวคลิโอไทด์จำนวน ๒ สายเรียงตัวขนานกันในทิศทางตรงกันข้าม เข้าคู่และพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาคล้ายบันไดเวียน ที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (doublehelix) การเข้าคู่หรือเข้าจับกันของสายพอลินิวคลิโอไทด์ทั้ง ๒ สายเกิดจากการเข้าคู่กันระหว่างเบสพิวรีนและเบสไพริมิดีน ด้วยพันธะไฮโดรเจน โดย A ทำการสร้างพันธะจำนวน ๒ พันธะเข้าจับกับ T (A = T) และ G ทำการสร้างพันธะ จำนวน ๓ พันธะเข้าจับกับ C (G บ C) โดยมีน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตทำหน้าที่เป็นแกนอยู่ด้านนอกของโมเลกุล

          สารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง เช่น ในพืช สัตว์ และมนุษย์ อยู่ในรูปของโครโมโซม ประกอบด้วยส่วนที่เป็นดีเอ็นเอ และโปรตีนประเภทฮิสโทน (histone) ที่เข้าเกาะกันและทำการพันเกลียวเพิ่มขนาดขึ้นจนเป็นโครโมโซมภายในนิวเคลียสของเซลล์ โครโมโซมมีความสามารถในการถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้ โดยที่ลูกจะได้รับโครโมโซมชุดหนึ่งจากพ่อและอีกชุดหนึ่งจากแม่ ลูกจึงมีลักษณะต่างๆ ที่เหมือนกับพ่อและ/หรือแม่

          ส่วนในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น แบคทีเรีย มีสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอในรูปวงแหวน สายคู่อยู่ภายในเซลล์ ส่วนไวรัสอาจมีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ สายคู่หรือสายเดี่ยวก็ได้

          สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอทั้งหมดที่มีอยู่ภายในเซลล์หนึ่งๆของสิ่งมีชีวิตถูกเรียกว่า จีโนม (genome) ข้อมูลในจีโนม จึงเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแตกต่างและมีความจำเพาะในแต่ละสิ่งมีชีวิต

          ดีเอ็นเอมีคุณสมบัติในการเสียสภาพ (denaturation) และการคืนสภาพ (renaturation) ได้ เนื่องจากพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสเป็นพันธะอ่อน ดีเอ็นเอจึงสามารถแยกออกเป็นเส้นเดี่ยวได้เมื่ออยู่ในสภาพที่มีอุณหภูมิหรือความเป็นกรดเป็นด่างสูงมากๆ และสามารถคืนสู่สภาพเดิมเมื่อมีการปรับอุณหภูมิ หรือความเป็นกรดเป็นด่างให้ลดลง การเข้าคู่ของดีเอ็นเอจะเป็นในรูปแบบเดิมคือ A จับกับ T  และ G จับกับ C คุณสมบัติพฤติกรรมของดีเอ็นเอจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่างๆ ได้



ที่มา : http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=2183&source_location=2

นมเปรี้ยว



นมเปรี้ยวกับประโยชน์ของจุลินทรีย์
    นมเปรี้ยวเกิดจากการหมักจุลินทรีย์ในนมจนเกิดรสเปรี้ยว อาจเติมสารปรุงแต่ง สี กลิ่น รส หรือ สารอย่างอื่นที่จำเป็นต่อกรรมวิธีการผลิต บางคนเข้าใจผิดว่านมเปรี้ยวกับนมบูดเหมือนกัน เพราะเห็นว่ามีรสเปรี้ยวเช่นเดียวกัน นมบูด เกิดจากเชื้อโรคที่กินไม่ได้ไปทำปฏิกิริยากับนม เมื่อกินนมบูดเข้าไป จะมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เพราะอาหารเป็นพิษ จุลินทรีย์ในนมเปรี้ยวเป็นจุลินทรีย์ที่พบตามปกติในทางเดินอาหาร ไม่สร้างสารพิษ และไม่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ จุลินทรีย์ในกลุ่มแลคโตบาซิลลัส เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มที่เรียกว่า โปรไบโอติคส์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต สามารถก่อประโยชน์ต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่โดยการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายของผู้บริโภค

ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในนมเปรี้ยว


  • รักษาอาการท้องเสีย ในลำไส้ของมนุษย์ประกอบด้วยจุลินทรีย์นานาชนิด บ้างก็เป็นประโยชน์ บางชนิดก็ให้โทษ สำหรับคนสุขภาพดี แข็งแรง จุลินทรีย์ทั้งหมดในร่างกายจะอยู่ในสภาพสมดุล นี่คือ ระบบนิเวศน์ของลำไส้ แต่วันใดก็ตามที่ระบบนิเวศน์ในร่างกายเสียสมดุล จุลินทรีย์ที่ดีมีจำนวนลดลง จุลินทรีย์ที่ให้โทษขยายจำนวนมากขึ้น จนมีจำนวนมากกว่าจุลินทรีย์ที่ดีก็จะทำให้เกิดอาการท้องเสียขึ้นมาได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ การดื่มนมเปรี้ยวที่เกิดจากกรรมวิธีการหมักจะเป็นนมเปรี้ยวที่มีทั้งกรดแลคติก และเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่ในน้ำนมทุกครั้งที่เราทานนมเปรี้ยว เราไม่เพียงแต่ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์เท่านั้น แต่เรายังได้รับจุลินทรีย์ที่ยังมีชิวิตจำนวนหนึ่งเข้าสู่ร่างกายด้วย จุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับสภาพของลำไส้ให้กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง และทำให้อาการท้องเสียนี้หายไปได้ และยังสามารถรักษาโรคท้องเดิน และแผลในกระเพาะอาหารได้ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีชิวิตนี้ คือ ตัวการสำคัญที่ทำให้นมเปรี้ยวมีคุณค่าต่อร่างกายต่างจากนมเปรี้ยวเทียมที่เติมกรดให้มีเพียงแต่รสเปรี้ยวเท่านั้น



  • ยกระดับภูมิคุ้มกันโรค จุลินทรีย์ในนมเปรี้ยวไม่เพียงป้องกันและรักษาโรคได้ด้วยฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สูงขึ้นด้วย และยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเชื้อแลคโตบาซิลัสจะช่วยควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ นอกจากนี้เชื้อแลคโตบาซิลัสยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ โดยเชื้อแลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง จับกับโลหะหนัก และกรดน้ำดีซึ่งมีพิษ ยับยั้งกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างสารไนเตรทได้ (สารไนเตรทเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง) ช่วยเปลี่ยนสารฟลาโวนอยด์จากพืชให้เป็นสารต้านมะเร็ง)



  • ควบคุมจุลินทรีย์ในลำไส้และยับยั้งเชื้อโรคของอาหารเป็นพิษ ในนมเปรี้ยวมีการสะสมของสารเมตาบอไลท์ที่จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลคติกขับออกมา สารเหล่านี้มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการในลำไส้ได้หลายชนิด เช่น Salmonella และ E. coli ทำให้พวกจุลินทรีย์เหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายเราได้ ดังนั้น เราควรจะรับประทานนมเปรี้ยวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ดีอาศัยอยู่ภายในลำไส้



  • ช่วยให้ย่อยง่าย จุลินทรีย์ในนมเปรี้ยว จะสร้างเอ็นไซม์ที่สามารถย่อยอาหารได้มากกว่าปกติ เช่น เอ็นไซม์ย่อยโปรตีน (Protease) จะช่วยให้การย่อยเคซีนซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากในนม ช่วยให้มีการหลั่งน้ำลายและเอ็นไซม์ในกระเพาะอาหารและตับอ่อนมากขึ้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น จุลินทรีย์เหล่านี้ยังสร้างเอ็นไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตส (B-galactosidase) ซึ่งสามารถเปลี่ยนน้ำตาลแลคโตส ซึ่งคนเราทั่วๆ ไปจะขาดเอ็นไซม์นี้ หลังจากหย่านม ทำให้บางคนเมื่อทานนมแล้วจะมีอาการท้องเสีย เนื่องจากน้ำตาลแลคโตสไม่ถูกย่อย แต่จุลินทรีย์ที่เติมลงในนมเปรี้ยวนี้จะไปช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตส ทำให้ผู้บริโภคไม่เกิดอาการท้องเสีย นอกจากนี้จุลินทรีย์ที่สร้างกรดแลคติกนี้ยังช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็กได้ดีขึ้น



  • เป็นแหล่งวิตามิน บี 1 และวิตามิน เค แบคทีเรียในนมเปรี้ยวยังสามารถสังเคราะห์วิตามิน บี 1 (ไรโบฟลาวิน) และวิตามิน เค ในลำไส้ ซึ่งเป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย ป้องกันโรคเหน็บชา และช่วยในการแข็งตัวของเลือด


คำแนะนำในการบริโภคนมเปรี้ยว

การบริโภคนมเปรี้ยวจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่นมเปรี้ยวให้โทษได้เหมือนกัน ถ้าในกระบวนผลิตไม่ได้มาตรฐาน เกิดการปนเปื้อนจากเชื้อโรค และสารต่างๆ นอกจากนั้นการบริโภคให้หมดก่อนวันหมดอายุ หากเปิดภาชนะบรรจุแล้วบริโภคไม่หมดในวันเดียว ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และปิดฝาให้มิดชิด การสังเกตลักษณะเป็นก้อนๆ ที่ก้นขวด หรือภาชนะบรรจุ ถ้าเป็นโยเกิร์ตจะต้องอยู่ในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว กลิ่นและรส ไม่ผิดไปจากปกติ (ยกเว้นกลิ่นและรสที่ปรุงแต่งลงไป) บางคนทานนมเปรี้ยวเป็นอาหารหลัก เพื่อลดความอ้วน อาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน นอกจากนี้นมเปรี้ยวที่ผลิตจากนมสด และมีการปรุงแต่งด้วยน้ำตาล จะมีแคลอรี่สูงกว่านมสดรสธรรมชาติ คุณค่าทางโภชนาการของนมเปรี้ยว ขึ้นอยู่กับชนิดของนมที่นำมาใช้ และสารปรุงแต่งที่เติมลงไป ถ้าทำมาจากนมสดคุณค่าจะเท่ากับนมสด ถ้าทำมาจากหางนม ที่ได้สกัดไขมันออก จะมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลงไป ไม่ควรรับประทานนมเปรี้ยวเป็นอาหารหลัก แต่ควรรับประทานเป็นอาหารเสริม เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของตัวท่านจึงจะถูกต้องเหมาะสม


ที่มา : http://mysci-mybrain.blogspot.com/2009/04/blog-post_13.html

โยเกิร์ต


การทำโยเกิร์ต

       โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์นมหมักที่มีความเป็นกรดสูงหรือมีรสเปรี้ยว  การทำโยเกิรต์มีต้นกำเนิดมาจากแถบประเทศยุโรปในประเทศบัลแกเรีย  โดยนำนมวัวหรือนมแพะมาต้มทิ้งไว้ให้เย็นลงพออุ่นแล้วเติมนมเปรี้ยวที่มีอยู่แล้วลงไป  บ่มไว้ 8-10 ชม.  จากนั้นหุ้มหม้อบรรจุนมด้วยขนสัตว์และเก็บไว้ในเตาอบเพื่อให้อุณหภูมิคงที่ประมาณ 40-45 OC  จะได้โยเกิรต์ซึ่งเป็นน้ำนมที่มีลักษณะเป็นตะกอนหรือเป็นลิ่ม  มีความหนืดสูง  ผิวหน้าเรียบและมีส่วนสารละลายใสเพียงเล็กน้อย
ปัจจุบันโยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์นมหมักที่รู้จักกันแพร่หลาย  เชื้อจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตโยเกิรต์มี 2  ชนิด คือ Streptococcus thermophilus  และ Lactobacillus bulgaricus  ซึ่งเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 40-45 OC  จุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้จะมีปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกันในลักษณะร่วมมือกัน คือ  Lactobacillus bulgaricus  เป็นตัวช่วยย่อยโปรตีนในน้ำนมทำให้เชื้อ Streptococcus thermophilus  ถูกกระตุ้นให้เจริญซึ่งในสภาพที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำหรือไม่มีออกซิเจนจะใช้น้ำตาลแลคโตสหรือกลูโคสในน้ำนมเปลี่ยนได้เป็นกรดแลคติก ที่จะไปกระตุ้นการเจริญของ Lactobacillus bulgaricus ส่งผลให้เชื้อตัวนี้สร้างกรด และสารให้กลิ่นรสที่ระเหยได้ขึ้นมาด้วยและเป็นกลิ่นเฉพาะของตัวโยเกิร์ต  และยังมีคุณค่าทางอาหารสูง  ช่วยระบบย่อยอาหารของร่างกาย
ในการผลิตเพื่อการค้า  การผลิตเริ่มจากอุ่นนมให้ร้อนถึงอุณหภูมิ 60 OC เติมหางนมผงร้อยละ 3-5 ถ้าใช้หางนมสดควรเติมหางนมผงอีกร้อยละ 6-7 แล้วโฮโมจีไนซ์ที่ความดัน 1800-2000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  พาสเจอไรซ์น้ำนมที่อุณหภูมิ 83 OC เป็นเวลา 30 วินาที   ทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 43 OC แล้วใส่เชื้อโยเกิร์ต 2-3%  คนให้เข้ากัน  เทลงภาชนะที่สะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว  ปิดฝา บ่มในตู้บ่มที่อุณหภูมิ 43 OC หรือในอ่างน้ำอุ่นที่อุณหภูมิเดียวกัน  จนกระทั่งน้ำนมเป็นลิ่ม  ถ้าเชื้อที่ใช้แข็งแรงดีจะใช้เวลาประมาณ 3 ช.ม.  โยเกิร์ตที่ได้มีความเป็นกรด 0.85-0.95% (pH ประมาณ 4.4-4.5)  แล้วนำเข้าแช่ตู้เย็นเพื่อหยุดปฏิกิริยาหมักของเชื้อแบคทีเรีย

                โยเกิร์ตจะแบ่งตามลักษณะการผลิตได้ 2 ชนิด คือ

โยเกิร์ตชนิดแข็งตัว (set yoghurt) มีการบรรจุภาชนะหลังจากเติมเชื้อเลยเป็นการหมักนมด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้องการและปล่อยให้นมมีการแข็งตัวในภาชนะระหว่างการรอจำหน่ายในร้านค้า  อาจมีการใส่ผลไม้เชื่อมรองที่ก้นภาชนะก่อนแล้วค่อยใส่นมลงหมักก็ได้
โยเกิร์ตชนิดคน (stirred yoghurt) เป็นชนิดที่มีการหมักในถังขนาดใหญ่จนนมตกตะกอน แล้วจึงเติมผลไม้เชื่อมหรือน้ำเชื่อม  กลิ่นสี  ทำให้ก้อนนมแตกและคนให้เข้ากันก่อนที่จะเทในภาชนะขนาดเล็กเพื่อรอการจำหน่ายซึ่งจะได้โยเกิร์ตค่อนข้างเหลว
โยเกิร์ตชนิดอื่นๆ ได้แก่


  • โยเกิร์ตเหลว (drinking yoghurt) หรือนมเปรี้ยว มีลักษณะเป็นก้อนนมแตกกระจายอยู่ 
  • โยเกิร์ตผลไม้ (fruit yoghurt)  เป็นการเติมผลไม้บด หรือแยมและน้ำตาลลงไปในโยเกิร์ต
  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ (plain yoghurt)  ไม่มีการเติมแต่งกลิ่นรส ใดๆ ลงไป
  • โยเกิร์ตแต่งกลิ่นรส (sweet yoghurt)  มีการเติมกลิ่นรสเทียมและสารให้ความหวานลงไป
  • โยเกิร์ตแช่แข็ง (freeze yoghurt)  ลักษณะคล้ายไอศกรีม                   


วัตถุดิบและอุปกรณ์        


  • น้ำนมชนิดต่างๆ และหางนมผง
  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 5-10%
  • น้ำแข็ง
  • Thermometer
  • Hot air oven/Incubater
  • เครื่องชั่ง              
  • pH meter
  • Refractometer                    
  • Blender
  • hot plate
  • ถ้วยพลาสติก + ฝา
  • หม้อ ทัพพี           

วิธีทำ


     วีธีที่ 1
นำนมสด 940 กรัม  อุ่นไว้ที่ 50 OC
ชั่งหางนมผง 60 กรัม  ใส่ลงในนมสดที่อุ่นไว้
นำนมที่ผสมกันแล้วไปใส่เบลนเดอร์ปั่นด้วยความเร็วต่ำเป็นเวลา 10 วินาทีเพื่อผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการตีไขมัน (homogenizer) จากนั้นนำไปตุ๋นที่ 85 OC เป็นเวลา 2 นาที จึงทำให้เย็นลงที่ 43 OC
เติมเชื้อโยเกิร์ตที่เตรียมไว้หรือผงเชื้อโยเกิร์ตหรือใช้เชื้อโยเกิร์ตรสธรรมชาติด้วยช้อนตวงที่สะอาดลวกน้ำร้อนแล้วจำนวน 1.5-2 ชต.  คนให้เข้ากันดี
เตรียมภาชนะลวกน้ำร้อนและวางทิ้งไว้ 2-3 นาที เทโยเกิร์ตที่ได้ใส่ลงในภาชนะพร้อมปิดฝา   นำไปหมักในน้ำที่อุณหภูมิ 43-45 OC  จนเป็นโยเกิร์ต  ประมาณ 3-4 ชม.  หรือหมักใน incubater /hot air oven หรือตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 คืน  จึงเก็บเข้าตู้เย็น
        วิธีที่ 2     วิธีทำจากหางนมผง

ชั่งหางนมผง 150 กรัม   และน้ำ 850 กรัม
เทหางนมผงผสมในน้ำอุ่น 50 OC   คนให้ละลาย นำไปใส่เบลนเดอร์ปั่นความเร็วต่ำ 2 วินาที 2 ครั้ง  เพื่อช่วยให้นมผงกระจายตัวละลายได้สมบูรณ์  จากนั้นนำไปตุ๋นที่ 85 OC เป็นเวลา 2 นาที เป็นการพาสเจอไรซ์ ทำลายเชื้อจุลินทรีย์จึงลดอุณหภูมิลงมาที่ 43 OC  หากมีฟองให้ช้อนฟองออกด้วย
เติมเชื้อโยเกิร์ตที่เตรียมไว้หรือผงเชื้อโยเกิร์ตหรือใช้เชื้อโยเกิร์ตรสธรรมชาติด้วยช้อนตวงที่สะอาดลวกน้ำร้อนแล้วจำนวน 1.5-2 ชต.  คนให้เข้ากันดี
เตรียมภาชนะลวกน้ำร้อนและวางทิ้งไว้ 2-3 นาที เทโยเกิร์ตที่ได้ใส่ลงในภาชนะพร้อมปิดฝา   นำไปหมักในน้ำที่อุณหภูมิ 43-45 OC  จนเป็นโยเกิร์ต  ประมาณ 3-4 ชม.  หรือหมักใน incubater /hot air oven หรือตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 คืน  จึงเก็บเข้าตู้เย็น

      วิธีที่ 3  
น้ำนมชนิดต่างๆ  1  ลิตร
ต้มให้ความร้อนให้เดือดนาน 10 นาที  โดยคนตลอด
รอให้อุ่นประมาณ 35-40  OC   จากนั้นจึงตักหัวเชื้อโยเกิร์ตรสธรรมชาติใส่ประมาณ 5-10% ของถ้วย
เทบรรจุลงในถ้วยพลาสติกที่ลวกน้ำร้อนแล้ว   (อาจมีการใส่ผลไม้เชื่อมที่ก้นถ้วยก่อนเทโยเกิร์ต)  หมักไว้ในอ่างน้ำอุ่น 35-40  OC  ประมาณ 3-4 ชม.  หรือหมักใน incubater /hot air oven หรือตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 คืน  จึงเก็บเข้าตู้เย็น
Note:      -  ผลิตโยเกิร์ตชนิดหวานให้เติมน้ำตาลทรายประมาณ 80 กรัม  พร้อมหางนมผงหรือหากต้องการกลิ่น
รสผลไม้  เติมได้ตามชอบพร้อมแต่งสีให้สวยงาม
- ผลิตโยเกิร์ตพร้อมดื่ม ให้ผสมกับน้ำเชื่อม 15% ในอัตราส่วน 1:1 แต่งสี กลิ่น รส  หรือผสมโยเกิร์ตกับน้ำผลไม้ อัตราส่วน 40:60  แล้วปั่นในเบลนเดอร์ (แต่ควรหมักโยเกิร์ตให้มีความเปรี้ยวมากกว่าปกติ)

 ที่มา : http://www.agro.kmutnb.ac.th/e-learning/521302/7.php

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช


การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นความเจริญก้าวหน้าในด้านการเกษตรเกี่ยวกับพืช ที่มีการพัฒนาเทคนิคในการขยายพันธุ์แบบใหม่ ที่ทำให้ได้พืชต้นใหม่ จำนวนมาก อย่างรวดเร็วในเวลาอันจำกัด โดยมีคุณภาพดีเหมือนเดิม

ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลิทรีย์ และอยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและความชื้นเพื่อให้เซลล์พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อที่มารบกวนและทำลายการเจริญเติบโตของพืช


พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาในเรื่องของการขยายพันธุ์ หรือพืชที่มีปัญหาเรื่องโรค เช่น ขิง กล้วยไม้ หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ข้าว แครอท คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า เป็นต้น

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีวิธีการทำ 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1. การเตรียมอาหาร คือ การเตรียมอาหาร คือ การนำธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต และธาตุอาหารรองมาผสมกับวุ้น ฮอร์โมนพืช วิตามินและน้ำตาล ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำไปฆ่าเชื้อ ใส่ลงในขวดอาหารเลี้ยง บางครั้งอาจหยดสีลงไป เพื่อให้สวยงามและสังเกตได้ชัดเจน
               ธาตุอาหารที่พืชต้องการ
                    • ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม แคลเซียม แมกนีเซี่ยมและกำมะถัน
                    • ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุอาหารที่จำเป็นน้อย เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง
          2. การฟอกฆ่าเชื้อส่วนเนื้อเยื่อ  คือ เป็นวิธีการใช้สารเคมีหรือวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
          3. การนำเนื้อเยื่อลงขวดเลี้ยง  เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืชที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว วางลงบนอาหารเลี้ยงที่ปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือและปฏิบัติการในห้องหรือตู้ย้ายเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ
          4. การนำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปเลี้ยง  เป็นการนำเอาขวดอาหารเลี้ยงที่มีชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อไปเลี้ยงไว้บนเครื่องเขย่า เพื่อให้อากาศได้คลุกเคล้าลงไปในอาหาร ทำให้แร่ธาตุ, ฮอร์โมนและสารอาหารต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อที่นำมาเลี้ยงบนอาหารนั้น เกิดต้นอ่อนของพืชจำนวนมาก
          5. การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวด  เมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น ให้แยกต้นอ่อนออกจากกัน เพื่อนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรงดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่สมบูรณ์ออกจากขวด ปลูกในแปลงเลี้ยงต่อไป


ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     1. เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว
     2. เพื่อการผลิตพืชที่ปราศจากโรค
     3. เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
     4. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน
     5. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ทนทาน
     6. เพื่อการผลิตยาหรือสารเคมีจากพืช
     7. เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืชมิให้สูญพันธุ์

พืชใกล้สูญพันธุ์
     คือ ขนุนไพศาลทักษิณ ซึ่งมีเหลืออยู่เพียงต้นเดียวในพระราชวังไพศาลทักษิร ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อเก็บพันธุ์ไว้เผยแพร่ต่อไปโดยมองให้ Central LAB ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน กองทัพบกและสวนจิตรลดา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกัน เป็นต้น


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=917

สาโท


ลูกแป้งสาโท
(ย้ำว่าแป้งสาโทนะ แป้งข้าวหมากก็พอได้แต่ไม่ดี ส่วนที่มานั้นหาเอา เท่าที่เคยสัมผัสมา แป้งจากโซนอิสานจะค่อนข้างดีนะ แถว อุดร หนองบัวฯ)
ข้าวเหนียว (ให้หาข้าวใหม่นะครับ ข้าวเหนียวเก่าค้างปีไม่อร่อย)
กะละมัง สำหรับไว้คลุกแป้งสาโท กับข้าวเหนียว
ผ้าใบ หรืออะไรก็ได้ สำหรับผึ่งข้าวเหนียว
โอ่ง หรือถังสำหรับหมัก
พลาสติกสำหรับปิดผนึก พร้อมเชือก



ขั้นตอนการทำนะค่ะ

ขั้นแรกเนี่ยให้เอาลูกแป้งมาบดๆ ให้ละเอียดนะครับ สำหรับลูกแป้งเนี่ย แนะนำว่า ให้ถามคนขายก่อนว่า
จะต้องให้เท่าไหร่ กี่ลูกต่อข้าวเหนียว กี่หวด (กรณีทำน้อยๆ) หรือ กี่ลูกต่อข้าวเหนียวหนึ่งกิโลฯหรือกระสอบ

การบดลูกแป้งนั้น แนะนำว่า ให้ใส่ครกตำทีละน้อย
อย่างตำหลายลูกประว่ามันจะไม่ละเอียดพอ ใจเย็นๆ
ค่อยบดไป อย่าตำแรงเพราะมันจะฟุ้งเข้าจมูกได้

จากนั้นก็นึ่งข้าวเหนียวครับ (จริงๆ อาจจะนึ่งข้าวไว้ แล้วหันมาบดลูกแป้งก็ไม่ผิดกติกา)
ข้าวเหนียวที่นึงเนี่ย ก็ควรจะนึ่งให้สวย อย่าให้เละไปเกินไป

พอนึ่งเสร็จแล้ว ให้เอามาผึ่งให้เย็นนะครับ ย้ำว่าให้เย็น
เพราะว่า ไม่งั้นเชื้อจะตายหมด ผลคือทำให้ได้สาโทที่หมักบูด
หรือทำให้มันได้ไม่เต็มที่ กินแล้วท้องเสียได้

พอเย็นแล้วก็ให้เอาข้าวเหนียวใส่กะละมัง คลุกกับแป้งสาโทครับ
แนะนำว่า ให้คลุกทีละน้อยๆ อย่าเยอะเกินไป และให้บี้ๆ ให้ข้าวเหนียวแตกออกจากกัน
ไม่เป็นก้อนๆ อาจจะพรมๆ น้ำเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวกลับมาติดกันและติดมือด้วยนะครับ อย่าให้น้ำเยอะจนข้าวเละนะ

สาเหตุที่ต้องให้บี้ หรือแยกออกมาไม่ให้เป็นก้อนๆ เพราะว่า ไม่อย่างงั้นเชื้อจะเข้าไม่ทั่ว
และทำให้หมักไปอาจจะไม่อร่อย ไม่แรงเท่าที่มันควรจะเป็น
(Trick: แนะนำให้บี้ หรือขยี้ ข้าวเหนียวก่อนใส่แป้งลงไป อาจจะขยี้ๆ แล้วแผ่ให้เต็มกะละมัง แล้วค่อยโรยแป้งให้ทั่วๆ)

คลุกเคล้ากันไปเรื่อย ปริมาณแป้งที่ใส่ให้พอดีกันนะครับ
ในกรณีที่ทำเยอะ แนะนำให้แยกกันให้ดี ไม่งั้นบางอันได้แป้งสาโทมาก น้อยไม่เท่ากัน
กลายเป็นว่า บางโอ่งอร่อย บางโอ่งไม่อร่อย

พอคิดว่าคลุกทั่วไปล้ว ให้จัดการบีบๆ ข้าวเหนียวให้แน่นนะ ให้ทำเป็นก้อนๆ ก่อน
แล้วจากนั้นกดให้เป็นรูตรงกลาง ขนาดก็คิดว่า พอที่จะเอาแก้วลงไปตักน้ำสาโทมาชิมได้นั่นล่ะ
อีกอย่างหนึ่งคือ เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวให้ทุกส่วนได้สัมผัสอากาศทั่วๆ กันด้วย
เพราะอย่างลืมว่า เชื้อต้องใช้อากาศในการย่อยสลายแป้งให้เป็นน้ำตาลนะครับ

เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการปิดผนึกอย่าให้อากาศเข้านะ
รัดให้แน่ให้มั่นใจว่า ไม่รั่ว พลาสติกที่ปิดปากแนะนำว่าให้หนาหน่อย กันแตกด้วย

ส่วนสิ่งที่เอามาใส่สำหรับหมักนั้น แนะนำให้เป็นพวกเครื่องดินเผา จะทำให้หอมกว่า
กลิ่นจะไม่กระด้างแสบจมูกมากนัก เมื่อเทียบกับถังพลาสติกอ่ะนะ แต่ต้องไม่รั่ว หรือซึมนะ
ไม่งั้นอดไม่ได้กินหรอกเหอๆ บางโอ่งร้าวโดยที่เราไม่เห็นก็มีนะ

จากนั้นเอาไปไว้ในที่ร่ม อย่าให้โดนแดด เพราะอาจจะทำให้อากาศภายในร้อน เชื้อตายได้อีกนั่นล่ะ
ให้มักไว้ ประมาณอาทิตย์นึง หรือหากใครต้องการแรงๆ หน่อยก็ยาวไปถึง 11-12 วันก็ได้
ซึ่งในระหว่างนั้น หากต้องการเช็คก็เปิดฝามาชิมได้ แต่อย่างบ่อย ไม่งั้นเสีย

ขั้นสุดท้ายคือ การผ่าน้ำ

การผ่าน้ำ คือการใช้น้ำต้มสุกมาเทใส่ ซึ่งใครต้องการให้เข้มอาจจะใส่ไม่ต้องเต็มโอ่งก็ได้
แต่ถ้าหากใครต้องการให้กินเรื่อยๆ ก็ใส่น้ำเกือบๆ เต็มโอ่ง แล้วปิดฝาทิ้งไว้ ถ้าต้องการกินด่วน
วันเดียวก็เอาได้แล้ว ถ้าต้องการให้แรงหน่อยก็ซักสองสามวัน ทีนี้ล่ะเมามันส์

ถ้าใครต้องการสูตรให้หวานกินง่าย เมาปลิ้น ก็ให้ใส่น้ำน้อยหน่อยไม่ต้องเต็มโอ่งนะ
แต่น้ำต้มที่ใส่ให้ผสมน้ำตาลลงไปจะช่วยให้หวานกินง่าย

จริงๆแล้ว แต่ละสูตรจะต่างกันตรงปริมาณน้ำตาลที่ใส่ลงไปเพิ่มเติมนี่ล่ะ
เพราะว่าแต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน ถ้าเอาแบบลูกทุ่งสุดเค้าไม่เติมน้ำตาลกันเลยล่ะ
แต่ถ้าเอาให้กินกันหลายๆคน กินง่ายก็เติมน้ำตาลลงไป

ทริคนิดหน่อย หลายคนพบว่ากินสาโทแล้วมีอาการท้องเสีย
เพราะคนที่ทำมักง่ายจ้วงน้ำต้มเทลงไปไม่ระวัง
ทำให้เศษข้าวเหนียวมันแตกกระจายออกมา
มันคือกากที่มักจะทำให้ท้องเสียได้ง่าย ดังนั้นควรระวังไว้ด้วยนะ

ต่อมาคือ ในการผ่าน้ำ ถ้าต้องการให้สาโทหอม ก่อนปิดฝา แนะนำให้หา
ใบใผ่ หรือใบข้าว ใส่ลงไปนิดหน่อย จะช่วยให้หอมขึ้นไป
ถ้าเป็นใบไผ่ น้ำสาโทจะมีสีออกเขียวๆ นะ แต่ถ้าใบข้าวน้ำออกสีขาวนวลๆ
แต่อย่าใส่เยอะ ไม่งั้นมันจะฝาดๆ ไม่อร่อย สักสี่ห้าใบพอเป็นพิธีพอ

ที่มา : http://www.kaikaew.com/index.php?topic=80.0
          http://www.suthee.net

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กระดาษสา

กระบวนการผลิตกระดาษ


    กระบวนการผลิตกระดาษในปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่มีผลผลิตมากและมีประสิทธิภาพการผลิตสูง แต่ก็ยังมีโรงงานขนาดกลางและย่อมที่ผลิตกระดาษเฉพาะอย่าง  กระบวนการผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ

    • ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ

    • ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ

    • ขั้นตอนการทำแผ่น

    • ขั้นตอนการตกแต่งผิว


ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ (Pulping)

    การทำเยื่อกระดาษเริ่มจากการนำไม้มาตัดเป็นท่อน ๆ ลอกเปลือกไม้ออก ทำความสะอาด แล้วสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สามารถทำเยื่อกระดาษได้ 3 ประเภทคือ

เยื่อเชิงกลหรือเยื่อบด (Mechanical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยใช้พลังงานกล โดยนำชิ้นไม้ไปบดด้วยหินบดหรือจานบด เยื่อที่ได้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ สั้นและขาดเป็นท่อน ทำให้กระดาษที่ได้มาไม่แข็งแรง อีกทั้งยังมีสารลิกนินคงเหลืออยู่ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กระดาษเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อได้รับแสง กระดาษที่ได้จากกรรมวิธีนี้มีความทึบสูงดูดความชื้นได้ดี มีราคาถูก แต่ไม่แข็งแรงและดูเก่าเร็ว มักจะนำไปใช้ทำสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ เพื่อพัฒนาเยื่อบดให้ดีขึ้น ได้มีการนำชิ้นไม้ไปอบด้วยความร้อนก่อนนำไปบด เพื่อให้เยื่อไม้กับลิกนินแยกออกจากกันได้ง่าย คุณภาพกระดาษที่ได้ก็จะดีขึ้น

          เยื่อเคมี (Chemical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมีและความร้อนในการแยกเยื่อและขจัดลิกนิน เยื่อกระดาษที่ได้จากวิธีการนี้มีความสมบูรณ์กว่าเยื่อบด แต่ได้ผลผลิตที่ต่ำกว่า ราคาก็สูงกว่า เยื่อเคมีที่ได้จากการใช้สารซัลเฟต ซึ่งเรียกว่าเยื่อซัลเฟต (Sulfate Pulp) จะเป็นเยื่อที่เหนียวมีสีคล้ำอมน้ำตาล มักจะนำไปใช้ทำกระดาษเหนียว (Kraft Paper) สำหรับทำถุงและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ส่วนเยื่อเคมีที่ได้จากการใช้สารซัลไฟต์ ซึ่งเรียกว่าเยื่อซัลไฟต์ (Sulfite Pulp) จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าเยื่อซัลเฟต นิยมนำไปฟอกให้ขาวเพื่อใช้เป็นกระดาษสำหรับเขียนและกระดาษเพื่อใช้ในงานพิมพ์

          เยื่อกึ่งเคมี (Semi-chemical Pulp) เป็นเยื่อที่ผลิตโดยนำไม้ชิ้นมาต้มในสารเคมีเพื่อให้เยื่อแยกออกจากกันง่ายขึ้นและเพื่อละลายลิกนิน เสร็จแล้วจึงนำมาบดด้วยจานบด กรรมวิธีนี้ทำให้ได้เยื่อที่มีคุณภาพดีกว่าเยื่อบดและได้ผลผลิตมากกว่าเยื่อเคมี เยื่อกึ่งเคมีมักนำไปใช้ในการผลิตกระดาษสำหรับบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่

    นอกจากนี้ยังมีการทำเยื่อจากกระดาษใช้แล้ว โดยนำมาปั่นเพื่อให้เยื่อกระจายออกจากกันและมีการผ่านขบวนการขจัดสิ่งที่ติดกระดาษมาด้วยเช่น หมึก กาว ฯลฯ เยื่อที่ได้นี้จะไม่สมบูรณ์ สั้น เส้นใยขาด จึงไม่มีความแข็งแรง การผลิตกระดาษจึงมักนำเยื่อบริสุทธิ์มาผสม เนื่องจากมีสารปนเปื้อนตกค้างไม่สมารถกำจัดได้หมด เยื่อจากกระดาษเก่ามักนำไปใช้ทำกระดาษหนา กระดาษกล่อง และมักจะมีสีคล้ำ

    เยื่อที่ผ่านขั้นตอนการผลิตข้างต้น  หากต้องการนำไปผลิตกระดาษที่มีเนื้อสีขาว ก็จะนำไปผ่านขบวนการฟอกเพื่อกำจัดลิกนินออก  เยื่อที่ได้ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ จะต้องผ่านการเตรียมน้ำเยื่อก่อนที่จะนำไปทำแผ่นกระดาษ



ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ (Stock Preparation)

    การเตรียมน้ำเยื่อ เป็นการทำให้เยื่อกระจายตัวและเติมส่วนผสมให้เหมาะกับการทำกระดาษประเภทที่ต้องการ การเตรียมน้ำเยื่ออาจมีการนำเยื่อไม้มากกว่า 1 ชนิดมาผสมเข้าด้วยกันเพื่อควบคุมต้นทุนให้เหมาะสมและเพิ่มสมบัติบางประการให้กับกระดาษที่จะผลิต การเตรียมน้ำเยื่อเริ่มจากการตีเยื่อให้กระจายอย่างสม่ำเสมอในน้ำเยื่อไม่จับเป็นก้อน เสร็จแล้วนำไปบดให้เส้นใยแตกเป็นขลุยเพื่อช่วยการเกาะยึดระหว่างกันดีขึ้น จากนั้นก็นำสารปรับแต่งต่าง ๆเพื่อเพิ่มสมบัติของกระดาษตามที่ต้องการพร้อมกันนี้จะมีการปรับความเข้มข้นของน้ำเยื่อก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำแผ่น


ขั้นตอนการทำแผ่น (Sheet Formation)

    ขั้นตอนนี้เริ่มด้วยการนำน้ำเยื่อลงในถังจ่ายน้ำเยื่อซึ่งจะถูกปล่อยลงบนสายพานตะแกรง น้ำส่วนใหญ่จะเล็ดรอดผ่านช่องของตะแกรงเหล่านี้ เยื่อจะเริ่มเป็นรุปร่างกระดาษ สายพานตะแกรงจะพาเยื่อกระดาษเข้าสู่ส่วนที่เป็นลูกกลิ้งเพื่อรีดน้ำที่ยังค้างอยู่ออกให้มากที่สุดพร้อมกับกดทับให้เยื่อประสานติดกัน ต่อจากนั้นกระดาษจะถูกพาไปอบโดยผ่านลูกกลิ้งร้อนหลาย ๆ ลูกจนเหลือน้ำอยู่น้อยมาก (ประมาณ 4 – 6 % โดยน้ำหนัก)


ขั้นตอนการตกแต่งผิว (Finishing)

    กระดาษที่ผ่านการอบแห้งจะถูกนำมาตกแต่งผิวตามที่ต้องการเช่นการขัดผิว (Calendering) การเคลือบผิวให้เรียบเงาหรือด้าน  กระดาษที่แล้วเสร็จจะถูกจัดเก็บเป็นม้วนเข้าโกดัง เมื่อมีการออกจำหน่ายก็จะตัดเป็นม้วนเล็กตามหน้ากว้างที่ต้องการ หรือตัดเป็นแผ่น ๆ ตามขนาดที่ต้องการแล้วห่อเป็นรีม ๆละ 500 แผ่น


เสื้อนาโน

"เสื้อนาโนคืออะไร"

 
       เสื้อนาโน คือ เสื้อที่ได้ประยุกต์เอาเทคโนโลยีในระดับนาโนเมตร ไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อผ้าธรรมดาให้กลายเป็นเสื้อผ้าพิเศษที่มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น
คุณสมบัติดังกล่าว ได้แก่

  • กันน้ำ
  • กันรังสียูวี
  • กันเชื้อแบคทีเรีย
  • กันไฟฟ้าสถิตย์
  • กันยับ

          คุณสมบัติแต่ละตัวที่กล่าวมาข้างต้นล้วนตอบสนองต่อความต้องการของเราในยุคปัจจุบัน เรามาทำความเข้าใจกันมากขึ้นกับเสื้อที่มีคุณสมบัตินาโนกันเลยดีกว่า
"เสื้อกันน้ำ"

     
ปัจจุบันมีการนำสิ่งทอกันน้ำมาตัดเย็บเป็นเสื้อแจ๊คเก็ต เนคไท ผ้าพันคอ กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะทำให้เสื้อผ้าสิ่งทอเหล่านั้นสามารถป้องกันน้ำชา กาแฟ อาหาร ที่อาจหกเลอะเทอะบนเสื้อผ้าของเราได้ ทั้งนี้คุณสมบัติกันน้ำดังกล่าวคล้ายกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่เรียกว่า "น้ำกลิ้งบนใบบัว" ซึ่งเกิดจากความขรุขระบนพื้นผิว และการเคลือบของสารคล้ายขี้ผึ้งบนผิวใบบัวอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดพื้นที่ผิวสัมผัสของน้ำกับพื้นผิวใบบัว น้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้ ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าใบบัวจะ "สะอาด" ตลอดเวลา และแม้จะเปื้อนผุ่นหรือโคลน แต่เมื่อฝนตก น้ำฝนก็จะสามารถชะล้างฝุ่นและสิ่งสกปรกออกไปได้เป็นอย่างดี
       จากความรู้ดังกล่าวผสมผสานกับนาโนเทคโนโลยีจึงทำให้เราสามารถจำลองการทำงานของปรากฎการณ์ "น้ำกลิ้งบนใบบัว" ขึ้นได้ โดยการทำให้พื้นผิวของเสื้อผ้าที่สวมใส่มีลักษณะขรุขระ และเคลือบด้วยสารที่ไม่ชอบน้ำซึ่งจะทำให้น้ำ หรือ คราบ ชา กาแฟ ไม่สามารถหกเลอะเทอะบนเสื้อผ้าของเราได้เช่นกัน
“เสื้อกันรังสียูวี”
ปัจจุบันมีสารที่นิยมใช้ในการป้องกันรังสียูวี 2 ชนิด ได้แก่ ซิงค์ออกไซด์ (ZnO) และไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) ซึ่งสารเหล่านี้เมื่ออนุภาคมีขนาดเล็กลงจนถึงในระดับนาโนเมตร จะสามารถสะท้อนแสงและรังสียุวีได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากสารในระดับนาโนเมตรมีพื้นที่ผิวเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง อีกทั้งยังโปร่งแสง มีลักษณะใส แต่สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB (ซึ่งมีขนาดความยาวคลื่นระหว่าง 280-400 นาโนเมตร) จึงมักนิยมใช้ผสมในครีมกันแดด และเมื่อนำสารดังกล่าวมาเคลือบบนเส้นใยหรือผ้าผืน เราก็จะสามารถผลิตเวื้อกันรังสียูวีได้

เกร็ดความรู้เรื่อง ยูวี


ทำไมจึงต้องป้องกันรังสียูวี นั่นก็เพราะว่าแสงยูวี เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ผิวเกิดมีริ้วรอย และอาจก่อให้เกิดมะเร้งผิวหนังได้ อีกทั้งยังทำให้เสื้อผ้าที่เราสวมใส่มีสีซีดอีกด้วย แสงยูวีแบ่งย่อยได้ 3 ชนิด คือ
ยูวีเอ (UVA)
มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร เป็นช่วงคลื่นยูวีที่เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยและความเหี่ยวย่นของผิวหนังก่อนวัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้า
ยูวีบี (UVB)
มีความยาวคลื่น 280-300 นาโนเมตร เป็นช่วงคลื่นยูวีที่ทำให้เกิดการแดงและไหม้ของผิวหนัง เมื่อสัมผัสแดดนานๆ
ยูวีซี (UVC)
มีความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร เป็นช่วงคลื่นยูวีที่มีพลังงานสูงสุด แต่ถูกดูดซับโดยโอโซนในชั้นบรรยากาศของโลก


เสื้อกันแบคทีเรีย


เสื้อกันแบคทีเรีย จัดว่าเป็นเสื้อเพื่อสุขอนามัยของคนรุ่นใหม่อีกแบบหนึ่ง เพราะได้เพิ่มคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันเชื้อแบคทีเรียด้วยอนุภาคนาโน ที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ อนุภาคนาโนเหล่านี้ได้แก่ อนุภาคนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ อนุภาคซิงค์ออกไซด์ และอนุภาคเงินนาโน (nanosilver) เป็นต้น

ไททาเนียมไดออกไซด์ และซิงค์ออกไซด์จัดเป้นสารประเภท “โฟโตคะตะลิสต์” ซึ่งจะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและกำจัดกิล่นได้ ก็ต่อเมื่อมีแสง เข้ามาร่วมด้วย ดังนั้น ถ้าเรามีเสื้อนาโนที่เคลือบด้วยไททาเนียมไดออกไซด์หรือซิงค์ออกไซด์แล้ว หลังจากสวมใส่เราจะต้องเอาเสื้อมาตากแดด เพื่อให้แสงแดดช่วยทำความสะอาดโดนฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ดีไททาเนียมไดออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ ไม่สามารถทำให้คราบต่างๆ ที่เลือะบนเสื้อผ้าหายไปได้ แต่หากเสื้อตัวนั้นมีคุณสมบัติกันน้ำร่วมด้วยก็อาจจะไม่ต้องเปลืองแรงซัก เป็นการประหยัดน้ำ และประหยัดเวลาได้อีกด้วย
อนุภาคเงินนาโน หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกติดปาก “นาโนซิลเวอร์” เป็นสารระดับนาโนเมตรอีกตัวหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียหับเสื้อผ้าของเรา เมื่อเชื้อราและแบคทีเรียเข้าไปแตะบนเสื้อที่มีเงินนาโนเคลือบอยู่ อนุภาคเงินจะซึมผ่านผนังเซลล์ของแบคทีเรียเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารบางตัวที่เยื่อเซลล์แบคทีเรีย และขัดขวางการแบ่งตัวของดีเอ็นเอ ซึ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียตายลง
การทำงานของอนุภาคเงินนาโน ไม่จำเป็นต้องมีแสงเข้ามาช่วย ดังนั้น เสื้อนาโนซิลเวอร์จึงไม่จำเป็นต้องเอาไปตากแดด เพื่อกระตุ้นการฆ่าแบคทีเรีย แต่หากมีคราบเลอะเทอะ ก็จำเป็นที่จะต้องนำไปซัก เช่นเดียวกับไททาเนียมไดออกไซด์

เสื้อกันไฟฟ้าสถิต


เราสังเกตได้ว่าเวลาอากาศแห้ง เสื้อผ้าที่สวมใส่จะแนบบกับผิวหนังเหมือนเกิดแรงดูดระหว่างผิวหนังกับเสื้อผ้าของเรา นั่นคือ การเกิดไฟฟ้าสถิตย์ มักเกิดกับเส้นใยที่ทำจากไนลอนและโพลีเอสเตอร์ เพราะเส้นใยเหล่านี้ดูดซับน้ำได้ไม่ดี ทำให้ชุดที่สวมใส่ดูไม่ดี ทำให้เสียบุคลิก และก่อความรำคาญให้กับเราอีกด้วย
เราจะใช้อะไรในการลดไฟฟ้าสถิตย์
เนื่องจากไฟฟ้าสถิตย์เกิดเมื่ออากาศแห้ง เส้นใยผ้าก็แห้งไปด้วย วิธีแก้ ทำได้โดยเพิ่มความชื้นนั่นเอง สารที่เพิ่มความชื้นในเนื้อผ้าได้แก่ สารหมู่ไฮดรอกซิล (OH), ไซเลน นาโนซอล (silane nanosol) สารที่มีสมบัตินำไฟฟ้า ซึ่งสามารถลดไฟฟ้าสถิตย์ที่สะสมในเนื้อผ้าได้ ได้แก่ ไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2), ซิงค์ออกไซด์ (ZnO) และแอนติโมนีตินออกไซด์ (ATO)
นาโนเทคโนโลยีเพื่อการลดไฟฟ้าสถิตย์ในเนื้อผ้า ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น ใช้โพลีเตตระฟลูออโรเอทธีลีน (PTFE-Dupont’s Teflon) ในการเคลือบเส้นใยเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์โดยเฉพาะ หรือที่บริษัท Gore-Tex I ได้ใช้อนุภาคระดับนาโนเมตรที่นำไฟฟ้าได้ป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต เป้นต้น แต่สำหรับประเทศไทยนั้น คุณสมบัติป้องกันไฟฟเสถิตไม่เป้นที่นิยมนัก อาจจะเป็นเพราะเมืองไทยมีอากาศร้อนชื้น จึงทำให้ไม่มีปัญหาไฟฟ้าสถิตย์บนเนื้อผ้า เหมือนในประเทศเมืองหนาว

เสื้อกันยับ


จะดีแค่ไหนที่เรามีเสื้อผ้าที่ไม่ต้องรีดซึ่งนอกจากประหยัดเวลาในการรีดผ้าแล้ว ยังเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงานทางอ้อมได้อีกด้วย
ผ้าฝ้าย และผ้าไหม เป็นเนื้อผ้าที่สวมใส่สบาย แต่ยับง่ายเรามีวิธีการอย่างไรช่วยให้ผ้าทั้งสองชนิดยังใส่สบายเหมือนเดิมแต่ยับน้อยลง
วิธีการเดิมๆ เพื่อกันเสื้อยับย่นนั้น คือ การใช้เรซิน แต่วิธีนี้ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากการใช้เรซินทำให้ผ้าแข็งกระด้างขึ้น การซับน้ำไม่ดี และทำให้ผู้สวมใส่อึดอัด เนื่องจากอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
นาโนเทคโนโลยีช่วยลดข้อจำกัดตรงนี้ได้ ด้วยการใช้ ไททาเนียมไดออกไซด์กับผ้าฝ้ายและนาโนซิลิกากับผ้าไหม เนื่องจากไททาเนียมไดออกไซด์เป็นสารที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างเส้นใยเซลลูโลสในเนื้อผ้าฝ้ายได้ ส่วนนาโนซิลิกาผสมกับสารกระตุ้นมาเลอิกแอนไฮดรายด์ (maleic anhydride) สามารถช่วยป้องกันการยับในผ้าไหมได้


ถ่านอัดแท่ง

วิธีการผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ

        แกลบมีอุปทานพอเพียงในการผลิตเป็นเชื้อเพลิงแข็งเพื่อใช้ทดแทนฟืนและไม้ แต่อาจแปรผันตามฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวบ้าง สำหรับราคาแกลบไม่น่าจะมีปัญหา และถ้าหากจำเป็นต้องกักตุนแกลบไว้เพื่อการผลิตฟืนแกลบเป็นการค้าเงินทุนจมที่ต้องใช้ในการซื้อแกลบ ก็จะไม่สูงมากนัก

1.เครื่องอัดถ่าน
เมื่อแกลบนำมาบดแล้วก็อัดภายใต้แรงดันสูง โดยมีความร้อนเข้าช่วย ทำให้สารประกอบเซลลูโลส สิกนิน และ คาร์โบไฮเดรท ในแกลบละลาย ทำหน้าที่ เป็นตัวประสารแกลบให้เกาะกันเป็นแท่งหรือก้อนได้ ดังรูปที่ 1 แสดงเครื่องจักรที่ใช้ ในการผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบ ที่ผลิตขึ้นในใต้หวัน หลักการทำงานของเครื่องจักร มีดังนี้คือ

บรรจุแกลบที่ต้องการใช้ลงในถัง (HOPPER) ที่มีทางออกไปสู่กระบอกอัด (Extrusion Cylinder) ซึ่งมีความยาว 28.5 เซ็นติเมตร ภายในกระบอกอัด มีเกลียวสกรูอัดชนิด เกลียวตัวหนอนดังรูปที่ 2 ซึ่งหมุนด้วย ความเร็วประมาณ 280 รอบ/นาที การขับเคลื่อนสกรูใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3 สาย ขนาด 15 แรงม้า ความเร็ว 1440 รอบ/นาที ทดรอบด้วยสายพาน และเฟืองทด โดยตรงกับสกรู
แกลบจะไหลเข้าไปในกระบอกอัดเมื่อสกรูหมุน และถูกสกรูอัดติดผนักกระบอกอัดด้วย แรงดันประมาณ 600 กก./ซม.^2 ในขณะที่แกลบถูกอัดเป็นแท่งเคลื่อนผ่าน กระบอกอัด จะได้รับความร้อนจากเครื่องทำความร้อน(Heater) ขนาด 0.8 กิโลวัตต์ 3 ตัวเรียงกัน ติดตั้งอยู่ที่ปลายกระบอกอัด แท่งฟืนแกลบจะเคลื่อนตัวช้าๆ ออกจากปลายกระบอกอัด และจะหัดเมื่อสำผัสกับรางเหล็กฉาก และถูกผลักให้หักเหจาก ทิศทางเดิม ความยาวของแท่งฟืนแกลบจะควบคุมได้ด้วยรางเหล็กฉากนี้

รูปที่1 เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต


รูปที่ 2 แสดง สกรูอัดเกลียวตัวหนอน 
2.สภาวะที่เหมาะสมในการผลิต
ในการผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบนั้น มีตัวแปรต่างๆที่สำคัญที่ทำให้คุณภาพของแท่งฟืนแกลบที่ได้แตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. ความชื้น
ถ้าหากแกลบมีความชื้นมากเกินไปไอน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อแกลบได้รับความร้อนจะขยายตัว ทำใ้ห้แท่งฟืนแกลบระเบิดและ แตกร่วนแต่ ถ้าหากว่า ความชื้นน้อยเกินไปทำให้แกลบเกาะกันเป็นแท่งได้ยาก ผิวของแท่งมีรอยแตกร้าว โดยทั่วไปปริมาณความชื้นที่ใช้ควรจะให้ความชื้นอยู่ระหว่าง 8-12%

2. อุณหภูมิ
ถ้าหากว่าใช้อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้ผิวหน้าของแท่งฟืนไหม้เกรียม การเกาะตัวกันของแกลบไม่เป็นเนื้อแน่นดีเท่าที่ควร และถ้าหากว่าใช้อุณหภูมิ ต่ำ ความแข็งของแท่งฟื้นที่ได้ก็จะต่ำด้วยเช่นกัน ที่สำคัญต้องควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ และการใช้เชือกฉนวนพันรอบเครื่องทำความร้อนจะช่วย ลดปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียความร้อนสู่บรรยากาศได้

3. ความดัน
ความดันในกระบอกอัดขึ้นอยู่กับระยะห่าง ระหว่างเกลียวอัด ความสูงของเกลียว ความเร็วของสกรู ตลอดจนระยะห่างระหว่างผนังกระบอกอัด กับสกรู เมื่อแกลบถูกสกรูหมุนดันให้ติดกับกระบอกอัด ซึ่งรับความร้อนมาจากเครื่องทำความร้อน จะทำให้เกิดการเกาะตัวกัน และแรงเสียดทาน ระหว่างกระบอกอัด กับการเคลื่อนตัวของแท่งฟืน ทำให้การอัดตัวแน่นยิ่งขึ้น

2.ผลของการทดลองผลิต
ผลการทดลองผลิตฟืนจากแกลบในช่วงความชื้นแกลบ 8-12% ที่อุณหภูมิของเครื่องทำความร้อน 250-270 องศาเซลเซียส แท่งฟืนแกลบ ที่อัดได้มีคุณลักษณะแน่น ไ่ม่แตกร้าว หรือไหม้เกรียม จากการสรุปผลของการทดลองสามารถสรุปผลได้ดังนี้

1.แกลบที่ใช้ต้องมีความชื้นไม่เกิน 12%
2.อุณหภูมิความร้อนของเครื่องทำความร้อนที่เหมาะสมที่สุด 265 องศาเซลเซียส
3.กำลังการผลิตของเครื่องอัดเฉลี่ย 1.02 นาทีต่อ 1 แท่ง หรือโดยเฉลี่ยในเวลาเดินเครื่อง 8 ชั่วโมง สามารถอัดแท่งฟืนจากแกลบที่มี ความยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตร ได้ 470 แท่ง
4.อุณหภูมิของแท่งฟืนแกลบที่ได้ ประมาณ 119 องศาเซลเซียส
5.พลังงานไฟฟ้าที่ใช้เฉลี่ย 0.1727 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ต่อแท่ง
6.ใช้แกลบ 1.50 กิโลกรัมต่อ ฟืนแกลบ 1 แท่ง (50 เซ็นติเมตร)
7.น้ำหนักเฉลี่ยของแกลบที่ลดลงหลังจากอัดเป็นแท่งฟืน 6.4%
8.อัตราการสึกกร่อนของสกรูประมาณ 0.53 มม. ต่อตันแกลบหรือ สกรูจะใช้งานผลิตได้ 2820 แท่งฟืนแกลบ(ประมาณ 4 ตันแกลบ)
9.ใช้แรงงาน 1 คนต่อหนึ่ง เครื่องอัด

3.คุณสมบัติของแท่งฟืนจากแกลบ
คุณสมบัติของเชื้อเพลิงของฟืนจากแกลบ ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างแท่งฟืนแกลบ ที่สุ่มจากการทดลองผลิต นอกจากนี้แท่งฟืนแกลบที่ผลิต ได้มีคุณลักษณะสม่ำเสมอ ดังรูป
มีความแข็งแรงมากพอ สามารถโยนหรือกองสูงได้โดยไม่แตกหัก ไม่สิ้นเปลืองเนื้นที่ใน การเก็บ และสะดวกในการขนส่ง
คุณสมบัติทางฟิสิกส์มีค่าเฉลี่ยดังนี้

สำหรับค่าความร้อนเฉลี่ยของเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบ ดังที่แสดงในตาราง คือ 3886 กิโลแคลอรี่นั้น เมื่อนำมาคำนวนกับค่าความหนาแน่น 1326 กก./ม.^3 จะให้ค่าความร้อนต่อหน่วนปริมาตร สูงถึง 5,152,836 กิโลแคลอรี่/ม.^3 ในขณะที่ฟืนไม้มีความร้อนเพียง 3,168,300 กิโลแคลอรี่/ม.^3 หรือเพียง 62% ของฟืนจากแกลบ ทั้งนี้เพราะฟืนไม้มีค่าความหนาแน่นเพียง 708 กก./ม^3 เท่านั้นเอง

ลักษณะของแท่งฟืนแกลบที่ผลิตได้


ไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponics)


“การปลูกผัก Hydroponics ทานเอง ที่บ้าน” ลงทุนน้อย หารายได้เสริม
ความสับสนวุ่นวายในทุกวันนี้ทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม บ้างก็ป่วยต้องไปหาหมอยา แต่ถ้าหากว่าเราดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีจากภายใน ร่างกายของเราก็จะแข็งแรงพร้อมรับแรงปะทะ ความวุ่นวาย ต่างๆได้อย่างสบาย


การเลือกกินอาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ร่างกายของเรามีความแข็งแรง โดยเฉพาะการทานพืชผักต่างๆที่มีเส้นใย เนื่องจากระบบลำไส้ของเราแทบจะถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของระบบภายใน ดังนั้นการรับประทานอาหารอะไรก็ตามที่มีเส้นใยสูงจะทำให้การย่อยอาหารของเราทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลโดยรวมมาสู่ภายนอกคือหน้าตาสดใส มีความสุขนั้นเอง

ผมเป็นคนหนึ่งที่ทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่หลายปีแล้วที่งดทานเนื้อวัว ดังนั้นการทานผักทุกชนิดหรือผักสลัดจึงเป็นอีกเมนูหนึ่งที่ต้องมีทุกมื้อครับ

ผักสลัดก็มีหลายชนิดมากๆ เราสามารถหาซื้อได้ตามห้างหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ราคาก็พอประมาณ ถึงขั้นขอคิดดูก่อน และเรื่องราคานี้แหละที่ทำให้ผมต้องคิดเล่นๆว่า “แล้วทำไม เราไม่ปลูกทานเองหล่ะ”

เมื่อหาข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ตก็พบว่ามีหลายๆคนได้ปลูกเองเหมือนกัน แต่วิธีที่ผมสนใจคือการปลูกแบบพืชไร้ดิน ปลอดสารพิษ หรือการปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) การปลูกวิธีนี้ทำให้ผมมีผักทานอย่างน้อยๆ สัปดาห์ละ2มื้อแน่ๆ และจะทานได้ตลอดปีครับ

 สิ่งที่ต้องจัดเตรียมเบื้องต้นคือ

• พื้นที่ ขนาด ขั้นต่ำ 1 .5 เมตร x 1.5 เมตร (ขนาดเล็กสุด)
• พื้นที่มีแสงแดด อย่าให้แดดจัดมาก ถ้ามีแดดจัดมากให้คลุมใยกรองแสง
• มีน้ำสะอาด ใช้น้ำประปาได้ยิ่งดี เพราะจะคุมคุณภาพน้ำได้ง่าย
• ผมใช้ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) ของ ACK Hydro Fram ขนาด 2 เมตร

       ผมได้คุยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่ ACK Hydro Farm และพบว่าการปลูกผักทานเองนี้ไม่ใช้เรื่องยากเลยครับ การดูแลก็ง่ายมาก ทั้งๆที่ผมเป็นนักเดินทาง ที่ต้องไปโน้นไปนี้ตลอดเวลาก็สามารถวางแผนการปลูกและการดูแลได้ ตลอดเวลาที่เป็นลูกค้านั้น เราสามารถสอบถามหรือปรึกษาที่ ACK Hydro Farm ได้ตลอดเวลาโดยทางบริษัทฯเค้าจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและเป็นกันเองมากๆครับ

ชุดปลูก Hydroponics Kit (NFT) ขนาด 2 เมตร (2.00×0.80 เมตร)

- รางปลูก 4 ราง ( ปลูกได้ 38 ต้น)
- ต้นกล้า 38 ต้น
-ชุดเพาะ 2 ชุด
- ถาดเพาะ 1 ถาด
- ถ้วยเพาะ 24 ถ้วย
- Mixed Media สำหรับ 40 ถ้วยเพาะ
- เมล็ดพันธุ์ 24 เมล็ด
-สารละลายธาตุอาหาร A และ B อย่างละ 1 ลิตร จำนวน 2 ชุด
-ชุดตรวจสอบค่าความเป็นกรด/ด่างของน้ำ 1 ขวด
-PH Down 500 ซีซี.1 ขวด
-ถังน้ำขนาด 50 ลิตร ( สำหรับใส่สารละลายธาตุอาหาร) 1 ใบ
-ปั๊มน้ำ 1 ตัว
-ชุดขาตั้ง 1 ชุด
-โครง + มุ้ง 1 ชุด
-CD + หนังสือคู่มือแนะนำการปลูก

การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics)

หมายถึง การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง จุดเด่นของระบบการปลูกแบบนี้มีทั้งในด้าน มาตรฐาน, ปริมาณ และคุณภาพ ของผลผลิต ในส่วนของมาตรฐานนั้นดีแน่นอนเนื่องจากเราสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่ดีไปปลูก ได้ ด้านปริมาณเราก็สามารถผลิตได้มากเนื่องจากใช้เวลาปลูกน้อยกว่าการปลูกในดิน จำนวนรอบการผลิตรวมต่อปีจะมากขึ้นถ้าเทียบในระยะเวลาที่เท่ากัน

ซึ่งหลายคนคงจะคิดว่า การปลูกพืชแบบนี้ เป็นเรื่องยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ตอนนี้คงต้องลบความคิดเก่า ๆ เหล่านี้ออกไปก่อน เพราะด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สะดวกสบายมากขึ้น ในการที่จะปลูกผักไว้รับประทานเอง เพื่อสุขภาพที่ดีทุกวัน ที่สำคัญวิธีการปลูกก็ง่ายแสนง่ายด้วยชุดปลูกระบบไฮโดรโปนิกส์ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ และความต้องการของเราเอง


ฟิลเลไอซเบิร์ก

เรดคอรัล

ผักกรอส ที่กินกับซีซาสลัดงัย

ฟาร์มของ ACK ที่อ่อนนุช

สำหรับใครที่คิดจะปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) สามารถขอคำแนะนำ จากผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นวิธีการดูแล การให้คำปรึกษา รวมถึงปัญหาต่าง ๆ และการบริการที่เป็นกันเอง ได้ที่ บริษัท เอซีเค ไฮโดรฟาร์ม จำกัด

ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุซอง หาซื้อได้ที่ TOP

การปลูกผักด้วยวิธีการแบบนี้ เป็นวิธีการที่สะดวกสบาย แม้จะมีพื้นที่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถมีผักที่สะอาดและปลอดสารพิษ รับประทานได้ แถมยังเป็นการปลูกด้วยตัวเอง เนื่องจากมีการดูแลที่ง่าย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย แถมยังมั่นใจในความสดใหม่ สะอาด เพราะเราควบคุมได้ทุกอย่าง เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่รักสุขภาพและมีเวลาไม่มากนัก มาถึงตอนนี้หลายคนคงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่กันแล้ว หันมาปลูกผักรับประทานเองด้วยการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) เพื่อสุขภาพที่ดีทุกวันดีกว่า…

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics)

บริษัท เอซีเค ไฮโดรฟาร์ม จำกัด
สำนักงานเลขที่ 933 ถนนอ่อนนุช แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร : 0-2333-1125
แฟกซ์ : 0-2333-1124
อีเมล์ : info@ackhydrofarm.com
Website: www.ackhydrofard.com


ที่มา : http://www.muangthai.com/thaidata/19510/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C-hydroponics.html

เด็กหลอดแก้ว ไอวีเอฟ (IVF : In Vitro Fertilisation)


     
          การถือกำเนิดครั้งแรกของเด็กหลอดแก้วในปี 1978 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของการรักษาภาวะมีบุตรยากสมัยใหม่และอัตราการตั้งครรภ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) และการช่วยเหลือการเจริญพันธุ์อื่นๆได้ทำการรักษาอย่างแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบัน และได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้ได้ผลสำเร็จที่สูงขึ้นและมีค่าใช้จ่ายคุ้มค่ามากกว่าการรักษาด้วยการใช้วิธีการแบบพื้นฐานต่างๆเช่นการผ่าตัดแก้ไขท่อนำไข่

          การปฏิสนธิภายนอกร่างกายแบบดั้งเดิม (Conventional IVF) นั้นเป็นชื่อสำหรับวิธีการรักษาโดย Test tube baby (เด็กหลอดแก้ว) ซึ่งเป็นต้นกำเนิด หลักการรักษานั้นจะต้องนำอสุจิหยดลงไปบนจานเพาะเลี้ยงตัวอ่อนหรือหลอดทดลองที่บรรจุเซลล์ไข่ของฝ่ายหญิงอยู่ภายในนั้น การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) แบบอื่นๆที่แตกต่างไปจากแบบดั้งเดิมนั้นก็จะมีวิธีการทำคล้ายๆกันนี้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนก่อนที่จะมีการย้ายตัวอ่อนกลับคืนให้

การคัดเลือกผู้ป่วย


         ผู้ที่เหมาะสมจะรับการรักษาด้วยวิธิการนี้ได้แก่ผู้ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์มานานกว่าสองปี และควรตัดสินใจเข้ารับการรักษาก่อนที่อายุของฝ่ายหญิงจะกลายมาเป็นอุปสรรคต่อการรักษาได้ ในบางกรณีอาจเนื่องมาจากจำเป็นต้องใช้เทคนิคอื่นๆร่วมด้วย เช่นในรายที่ไม่มีอสุจิจากการหลั่งปกติอาจต้องทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อจากอัณฑะ (TESE) เพื่อนำตัวอสุจิจากเนื้อเยื่อที่ได้มาทำการปฏิสนธิกับไข่ หรือในรายที่มีจำนวนอสุจิน้อยมาก หรือได้อสุจิมาจากการทำ TESE อาจต้องทำการช่วยปฏิสนธิ (ICSI) ร่วมด้วย เป็นต้น สำหรับกรณีอื่นๆที่เหลือนั้นจำเป็นต้องตัดสินใจเข้ารับการรักษาเมื่อวิธีเด็กหลอดแก้วถูกเสนอเป็นทางเลือกแรกในการรักษา หรือเมื่อล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆซึ่งซับซ้อนน้อยกว่ามาแล้ว

ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่าการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำ IVF และเทคโนโลยีช่วยเหลือการเจริญพันธุ์ต่างๆนั้นได้ผลดีมากกว่าการรักษาการรักษาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากด้วยยาหรือการผ่าตัดแบบสมัยก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ผู้ป่วยถูกคัดเลือกมาเป็นอย่างดีว่ามีความเหมาะสมสำหรับวิธีการนั้นๆ การรักษาด้วย IVF นั้นได้มีการพัฒนาจนมาถึงจุดที่แพทย์สามารถเสนอให้เป็นทางเลือกแรกสำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยากได้ เนื่องจากไม่มีสาเหตุใดที่เป็นข้อห้ามสำหรับการทำ ท้ายที่สุดแล้วการทำการรักษาด้วย IVF ยังเป็นเสมือนเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยสาเหตุของการมีบุตรยาก โดยจะช่วยให้สามารถมองเห็นกระบวนการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแต่ละระยะได้เป็นอย่างดีที่สุดด้วย ดังนั้นจึงไม่เป็นเรื่องแปลกหากจะตรวจพบปัญหาที่ไม่ได้คาดหวังไว้ระหว่างการทำการรักษาด้วย IVF

การกระตุ้นไข่


        สามารถทำได้โดยการให้ Human chorionic gonadotrophin (hCG) ซึ่งจะไปเหนี่ยวนำให้เกิดการสุกสมบูรณ์ของเซลล์ไข่ โดยจะทำการฉีด hCG ให้เมื่อไข่โตได้ขนาดที่ต้องการ และจะสามารถทำการเจาะไข่ได้ภายใน 34 – 36 ชั่วโมงหลังนั้น

การกระตุ้นไข่ตก


      ในปัจจุบันการเจาะไข่ทางช่องคลอดร่วมกับอัลตร้าซาวด์นั้นเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และช่วยให้สามารถเก็บเอาเซลล์ไข่ออกมาได้มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นๆ โดยจำนวนครั้งที่เข็มเจาะผ่านเข้าไปในผิวรังไข่น้อยกว่า ซึ่งลดความเสี่ยงและการปริมาณเสียเลือดจากผิวรังไข่ที่ไหลออกมาสู่ช่องท้องได้มากกว่า

การตรวจอัลตร้าซาวด์ 


       วิธีการหลักในการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของไข่นั้นทำได้โดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ การตรวจอัลตร้าซาวด์ในครั้งแรกนั้นจะกระทำภายหลังจากเริ่มฉีดยากระตุ้นไข่ไปแล้ว 7 วัน และจะทำการตรวจซ้ำขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งในแต่ละครั้งที่ทำการตรวจ แพทย์จะตรวจดูรังไข่ทั้งสองข้างรวมทั้งมดลูก จำนวนของไข่ในรังไข่แต่ละข้างจะถูกตรวจสอบและวัดขนาด

การเจาะเก็บไข่


         เมื่อจะทำการเจาะเก็บไข่ จะมีการใช้ยาระงับความรู้สึกชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อให้หลับไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะทำการเจาะไข่ แพทย์จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อให้มองเห็นรังไข่และอวัยวะในอุ้งเชิงกรานในระหว่างการเจาะไข่ และใช้เข็มเจาะไข่เจาะผนังช่องคลอดเข้าไปยังรังไข่ และดูดเอาเซลล์ไข่ออกมาสู่หลอดทดลอง เซลล์ไข่จะถูกนำออกมาทำความสะอาดในน้ำยาสำหรับเพาะเลี้ยง และจะถูกนำไปเก็บไว้ในตู้อบที่จะช่วยรักษาอุณหภูมิให้คงที่ที่ 37 องศาเซลเซียสตลอดเวลา

การเจาะไข่ผ่านทางช่องคลอดนั้นเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บแต่อย่างใดและสามารถตื่นฟื้นคืนสติได้อย่างรวดเร็วหลังจากนั้น การเจาะไข่มักใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที และอาจนอนพักเป็นเวลาเพียงหนึ่งถึงสองชั่วโมงก่อนกลับบ้านในวันนั้น

การเก็บตัวอย่างเชื้ออสุจิ

         สามีของผู้ป่วยจะถูกขอให้ทำการเก็บตัวอย่างเชื้ออสุจิให้ ซึ่งจะกระทำในวันเดียวกับการเจาะไข่ น้ำอสุจิที่หลั่งออกมาได้จะถูกเก็บไว้ในภาชนะพลาสติกที่ไม่เป็นพิษต่ออสุจิและสะอาดปราศจากเชื้อโรค ตัวอย่างอสุจิที่เก็บได้จะถูกนำไปวิเคราะห์ก่อนนำไปเตรียมเพื่อการทำ IVF การเตรียมอสุจินั้นปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี แต่ทุกวิธีมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ คัดกรองเอาน้ำอสุจิ ส่วนประกอบทางเคมี ตัวอสุจิที่ตายและผิดปกติ และเซลล์อื่นๆออกไปให้หมด ซึ่งจะคงเหลือไว้เพียงตัวอสุจิที่ปกติ มีชีวิต และเคลื่อนไหวได้ อยู่ในน้ำยาเพาะเลี้ยง

การให้ฮอร์โมน Progesterone เสริม

          เพื่อป้องกันการสร้างฮอร์โมน Progesterone ไม่เพียงพอ จึงได้มีการให์ฮอร์โมน Progesterone เสริม โดยจะเริ่มให้ในตอนเย็นในวันที่ทำการเจาะเก็บไข่หรือในเช้าวันรุ่งขึ้น ยาที่ใช้โดยทั่วไปจะใช้เหน็บเข้าไปยังช่องคลอด ซึ่งยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป

การเหน็บยาฮอร์โมน Progesterone จะกระทำต่อเนื่องไปจนได้รับผลการตรวจการตั้งครรภ์ หากผลแสดงว่าไม่ตั้งครรภ์ก็จะหยุดการเหน็บยาได้ และรอบเดือนก็จะมาภายในสองสัปดาห์หลังจากนั้น แต่ถ้าหากผู้ป่วยตั้งครรภ์ ก็จะต้องทำการเหน็บยาต่อไปจนกระทั้งอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์

ระยะในห้องปฏิบัติการของการรักษาด้วยวิธี IVF


  • ในวันที่มีการเจาะเก็บไข่

สามถึงหกชั่วโมงหลังจากการเจาะเก็บไข่ Embryologist จะนำอสุจิที่เตรียมแล้วไปหยดลงบนจานเพาะเลี้ยงซึ่งมีเซลล์ไข่อยู่ โดยมีการควบคุมปริมาตรของอสุจิให้เหมาะสม จำนวนของอสุจิที่จะหยดลงไปผสมกับไข่นั้นขึ้นอยู่กับค่าที่วัดได้จากการตรวจตัวอย่างน้ำอสุจิ หากมีค่าการตรวจที่ไม่ค่อยดีนัก Embryologist จะเพิ่มจำนวนตัวอสุจิให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ


  • ในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่มีการเจาะเก็บไข่

จานเพาะเลี้ยงจะถูกนำออกมาจากตู้อบ เพื้อนำไปตรวจดูการปฏิสนธิ ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะถูกย้ายไปไว้ในจานเลี้ยงใบใหม่ซึ่งมีน้ำยาเพาะเลี้ยงใหม่และนำกลับเข้าสู่ตู้อบไว้ดังเดิม ไข่ใบที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิและไข่ใบที่มีการปฏิสนธิผิดปกติจะถูกทิ้งไป และผู้ป่วยจะได้รับแจ้งถึงผลการปฏิสนธิ โดยปกติแล้วประมาณ 40 – 70% ของไข่จะได้รับการปฏิสนธิ


  • ในที่สองถึงวันที่ห้าหลังการเจาะไข่
ตัวอ่อนสามารถถูกย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกได้ตั้งแต่วันที่สองของการเจาะไข่ หรือสามารถย้ายกลับคืนในวันที่สาม วันที่สี่ หรือวันที่ห้า หลังการเจาะไข่ก็ได้ ในการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่าการย้ายตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูกในวันที่ห้าจะมีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าการย้ายตัวอ่อนในวันอื่นๆทั้งหมด (Gardner et al.,1998a,b) ในวันที่สองไข่ที่ปฏิสนธิแล้วแต่ละใบนั้นควรจะมีการแบ่งเซลล์เป็นสองเซลล์ หรือ สี่เซลล์แล้ว แต่ละเซลล์จะยังคงอยู่ภายในเปลือกของไข่ เมื่อไข่ที่ปฏิสนธิแล้วมีการแบ่งเซลล์จำนวนมากขึ้นจะถูกเรียกว่าตัวอ่อน (Embryo) ประมาณ 90% ของไข่ที่ปฏิสนธิได้ควรจะเจริญเติบโตไปจนถึงระยะตัวอ่อน ตัวอ่อนจำนวนหนึ่งจะถูกคัดเลือกเพื่อการย้ายกลับคืนสู่โพรงมดลูก สำหรับตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีที่เหลือจะถูกนำไปแช่แข็งเก็บไว้ ตัวอ่อนที่คุณภาพไม่ดีจะไม่สามารถรอดชีวิตจากกระบวนการแช่แข็งและละลายออกมาใช้ได้ก็จะถูกทิ้งไป




วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยีน

ยีน (gene) เป็นหน่วยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม (chromosome) เรียงกันเหมือนสร้อยลูกปัด   ทำหน้าที่่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน ยีนแต่ละยีนจะควบคุมลักษณะต่างๆทางพันธุกรรมเพียงลักษณะเดียว ยีนที่ควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งนั้นจะอยู่กันเ้ป็นคู่ ยีนสามารถเป็นได้ทั้งดีเอ็นเอหรือ อาร์เอ็นเอ เมื่อมีการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ มายังรุ่นลูก ยีนแต่ละคู่ของลูกนั้นจะได้รับมาจากพ่อครึ่งหนึ่งและได้รับจากแม่อีกครึ่งหนึ่ง ทำให้ลูกที่เกิดมานั้นมีความแตกต่างกันภายในครอบครัว



    ยีนที่ี่ี่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างมี 2 ชนิด
1. ยีนเด่น (dominant gene) คือ ยีนที่แสดงลักษณะนั้นออกมาได้ ถึงแม้ยีนนั้นมีเพียงยีนเดียว
2. ยีนด้อย (recessive gene) คือ ยีนที่แสดงลักษณะให้ปรากฏออกมาได้นั้น ก็ต่อเมื่อมียีนด้อยทั้ง
สองยีนอยู่บนคู่โครโมโซม

การใช้ประโยชน์ เทคโนโลยีชีวภาพ

การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายด้านเช่น
1. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า
2. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ
3. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปทำปุ๋ยหรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย
4.เทคโนโลยีชีวภาพ ด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบโรคทางพันธุกรรม การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต

เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์

ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการศึกษา และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ซึ่งหมายถึง การคัดเลือกและการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ และปลา มีการนำเทคโนโลยีด้านการผสมเทียม การถ่ายฝากตัวอ่อน การโคลนนิ่ง พันธุวิศวกรรม เพื่อปรับปรุงสัตว์ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ มีการเพิ่มปริมาณสัตว์ด้วยการใช้ฮอร์โมนหรือสารกระตุ้นความสมบูรณ์พันธุ์และอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์บางประเภท เช่น โค กระบือ และการนำเทคโนโลยีชีวภาพในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม อาหาร และการแพทย์ ปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ได้กระทำไปแล้วนั้นส่งผลให้ผลผลิตด้านเกษตรกรรมเกี่ยวกับสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ประเทศไทยมีผลผลิตเหล่านี้เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ ไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหาร และยังสารมารถส่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศไทยได้อีกด้วย ทำให้ประเทศไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น มีเงินที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ได้

เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนำเอาสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาปรับปรุง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น การขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และเพิ่มผลผลิตของสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพมีหลายวิธี เช่น การผสมเทียม การถ่ายฝากตัวอ่อน การโคลนนิ่ง พันธุวิศวกรรม

1. การผสมเทียม (Artificial Insemination)
การผสมเทียม คือ การทำให้เกิดการปฏิสนธิในสัตว์โดยไม่ต้องมีการร่วมเพศตามธรรมชาติ โดยมนุษย์เป็นผู้ฉีดน้ำเชื้อของสัตว์ตัวผู้เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมียที่กำลังเป็นสัด เพื่อให้อสุจิผสมกับไข่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ ซึ่งเป็นผลให้ตัวเมียตั้งท้องขึ้น

การผสมเทียมสามารถทำได้ทั้งในสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายใน ได้แก่ โ กระบือ สุกร และสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอก ได้แก่ ปลาที่มีการปฏิสนธิภายนอก เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลาสวาย ปลานิล ปลายี่สก ปลาดุก ปลาบึก เป็นต้น

1.1 การผสมเทียมโค กระบือ และสุกร
1.) การรีดเก็บน้ำเชื้อ โดยการใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นให้ตัวผู้หลั่งน้ำเชื้อออกมา แล้วรีดเก็บน้ำเชื้อเอาไว้ ซึ่งต้องคำนึงถึงอายุ ความสมบูรณ์ของตัวผู้ รวมทั้งระยะเวลาที่เหมาะสมและวิธีการซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์นั้นเอง

2.) การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ น้ำเชื้อที่รีดมาจะมีการตรวจดูปริมาณของตัวอสุจิและการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจดูว่าตัวอสุจิมีความแข็งแรงและมีปริมาณมากพอที่จะนำไปใช้งานหรือไม่

3.) การละลายน้ำเชื้อ โดยการนำน้ำยาเลี้ยงเชื้อเติมลงไปในน้ำเชื้อเพื่อเลี้ยงตัวอสุจิ และช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อ เพื่อให้สามารถนำไปแบ่งฉีดให้กับตัวเมียได้หลาย ๆ ตัว

สารที่เติมลงไปในน้ำเชื้อ ได้แก่

1. ไข่แดง เพื่อเป็นอาหารของตัวอสุจิ

2. โซเดียมซิเตรต เพื่อรักษาความเป็นกรด-เบส

3. สารปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำเชื้อ

มีขั้นตอนดังนี้

4.) การเก็บรักษาน้ำเชื้อ มี 2 แบบ คือ

4.1 น้ำเชื้อสด หมายถึง น้ำเชื้อที่ละลายแล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4-5 °C ซึ่งจะเก็บได้นานเป็นเดือน แต่ถ้าเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15-20 °C จะเก็บได้นาน 4 วัน

4.2 น้ำเชื้อแช่แข็ง หมายถึง น้ำเชื้อที่นำมาทำให้เย็นจัดจนแข็งตัว แล้วจึงนำไปเก็บรักษาไว้ในไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิ 1-96 °C ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี

5.) การฉีดน้ำเชื้อ จะฉีดให้แม่พันธ์ที่ได้รับการคัดเลือกและต้องอยู่ในวัยที่ผสมพันธุ์ได้ ถ้าเป็นโคต้องมีอายุประมาณ 18 เดือน กระบือต้องมีอายุประมาณ 3 ปี และสุกรต้องมีอายุประมาณ 10 เดือน

การฉีดน้ำเชื้อควรฉีดในช่วงระยะเวลาที่สัตว์ตัวเมียกำลังแสดงอาการเป็นสัด ซึ่งเป็นช่วงที่ไข่สุก รอบของการเป็นสัดของโค กระบือ และสุกรจะเกิดขึ้นทุก ๆ 21 วัน ระยะเวลาการเป็นสัดของโค กระบือจะนานประมาณ 1 วัน แต่ถ้าเป็นสุกรจะนานประมาณ 3-4 วัน

ข้อดีของการผสมเทียมพวกโค กระบือ และสุกร มีดังนี้

1. ได้สัตว์พันธุ์ดีตามต้องการ

2. ประหยัดพ่อพันธุ์โดยการนำน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์มาละลายน้ำยาสำหรับละลายน้ำเชื้อ ซึ่งทำให้สามารถนำมาฉีดให้แก่แม่พันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก

3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์หรือการสั่งซื้อพ่อพันธุ์

4. สามารถผสมพันธุ์กันได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงขนาดตัวและน้ำหนักของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

5. ตัดปัญหาเรื่องการขนส่งพ่อพันธุ์ไปผสมในที่ต่าง ๆ โดยเพียงแต่นำน้ำเชื้อไปเท่านั้น

6. สามารถควบคุมให้สัตว์ตกลูกได้ตามฤดูกาล สามารถป้องกันโรคติดต่อจากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ และยังแก้ปัญหาการติดลูกยากในกรณีที่มีความผิดปรกติของระบบสืบพันธุ์ของแม่พันธุ์ได้อีกด้วย

1.2 การผสมเทียมปลา
การผสมเทียมปลา มีวิธีการดังนี้

1.) คัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาที่สมบูรณ์ มีน้ำเชื้อดีและมีไข่มากจากปลาที่กำลังอยู่ในวัยผสมพันธุ์ได้

2.) ฉีดฮอร์โมนให้แม่ปลา เพื่อเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกเร็วขึ้น ฮอร์โมนที่ฉีดนี้ได้จาการนำต่อมใต้สมองของปลาพันธุ์เดียวกันซึ่งเป็นเพศใดก็ได้ นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมน้ำกลั่นฉีดเข้าที่บริเวณเส้นข้างลำตัวของแม่ปลา

3.) หลังจากฉีดฮอร์โมนให้แม่ปลาแล้วประมาณ 5-12 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดและน้ำหนักของแม่ปลา ต่อจากนั้นจึงรีดไข่และน้ำเชื้อจากแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ที่เลือกไว้ใส่ภาชนะใบเดียวกัน

4.) ใช้ขนไก่คนไข่กับน้ำเชื้อเบา ๆ เพื่อคลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วใส่น้ำให้ท่วม ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที จึงถ่ายทิ้งประมาณ 1-2 ครั้ง

5.) นำไข่ที่ผสมแล้วไปพักในที่ที่เตรียมไว้ ซึ่งต้องเป็นที่ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา เพื่อให้ไข่ลอยและป้องกันการทับถมของไข่ ทิ้งไว้จนกระทั่งไข่ปลาฟักออกเป็นลูกปลาในเวลาต่อมา

2. การถ่ายฝากตัวอ่อน (Embryo Transfer)

2.1 การถ่ายฝากตัวอ่อนในสัตว์

การถ่ายฝากตัวอ่อน คือ การนำตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมระหว่างตัวอสุจิของพ่อพันธุ์และไข่ของสัตว์แม่พันธุ์ที่คัดเลือกไว้ แล้วล้างเก็บออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ ต่อจากนั้นนำไปฝากใส่ไว้ให้เติบโตในมดลูกของตัวเมียอีกตัวหนึ่งให้อุ้มท้องไปจนคลอด
การถ่ายฝากตัวอ่อนนิยมทำกับสัตว์ที่มีการตกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนาน เช่น โค กระบือ แต่ไม่นิยมทำการถ่ายฝากตัวอ่อนกับสุกร เพราะสุกรสามารถมีลูกได้ง่ายครั้งละหลายตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องไม่นาน 

2.3 ประโยชน์ของการถ่ายฝากตัวอ่อน
การถ่ายฝากตัวอ่อนมีประโยชน์ดังนี้

1. ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาเท่าเดิม ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วกว่าการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติหรือการผสมเทียม

2. ขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก

3. ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขยายพันธุ์สัตว์

4. ช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่ใกล้สูญพันธุ์

การสกัดน้ำมันหอมจากดอกไม้และสมุนไพร

น้ำหอมที่สกัดมาจากดอกไม้และสมุนไพรชนิดต่าง ๆ มีราคาแพงมาก ประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตน้ำหอมคือ ฝรั่งเศส,สวิสเซอร์แลนด์,อังกฤษ,โปรตุเกส,เยอรมัน,อิตาลี,อเมริกาและประเทศอื่น ๆ ประเทศที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกด้านการผลิตน้ำหอมที่มีคุณภาพดีคือ ฝรั่งเศส
           หัวน้ำหอมที่ส่งมาจากประเทศฝรั่งเศสจะมีราคาแพงมาก ประเทศไทยต้องเสียดุลการค้าด้านนี้ไม่น้อยเพราะในประเทศไทยยังไม่มีใครกล้าลงทุนด้านนี้อย่างจริงจังทั้ง ๆ ที่มีดอกไม้มากไม่แพ้ฝรั่งเศส โดยเฉพาะดอกกล้วยไม้ ประเทศเรามีชื่อเสียงมาเป็นเวลานาน
           
การผลิตน้ำหอมจากดอกไม้ จะต้องลงทุนด้านวัตถุดิบในปริมาณสูงมาก เช่น ดอกมะลิน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม อาจจะผลิตหัวน้ำหอมบริสุทธิ์ได้เพียงครึ่งถึงหนึ่งลิตรเท่านั้น แต่หัวน้ำหอมบริสุทธิ์ 1 ลิตรนี้ สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นหัวน้ำหอม และทำประโยชน์ด้านอื่นอีกมหาศาล

            
ขั้นตอนการผลิตหัวน้ำหอมบริสุทธิ์จากดอกไม้
   ดอกไม้ที่นำมาผลิตน้ำหอมได้คือ ดอกมะลิ , กุหลาบ , กล้วยไม้ , ดมแมว , จำปี , กระดังงา , พุดซ้อน ตลอดจนดอกไม้ทุกชนิดที่มีกลิ่นหอม
  
สมุนไพรที่สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ คือ ต้นมินต์, ไพร, ตะไคร้หอมและสมุนไพร ชนิดอื่น ๆ ที่มีน้ำมันหอมระเหย
   
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการสกัดน้ำมันหอมจากดอกไม้และสมุนไพร (ใช้หลักการเดียวกัน)
1.
แหล่งกำเนิดไอน้ำ
2.
ภาชนะบรรจุวัตถุดิบ
3.
เครื่องควบแน่น
4.
เครื่องมือดักน้ำมันหอม
  
อุปกรณ์ที่จำเป็นเหล่านี้ ท่านสามารถออกแบบเองได้ โดยอาศัยหลักการที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานในการออกแบบเครื่องมือผลิตน้ำมันหอม
   
ปกติการเก็บน้ำมันหอมของดอกไม้หรือสมุนไพร อาจจะนำไปผสมกับน้ำมันพืชบริสุทธิ์ ที่ปราศจากสีและกลิ่น เช่น น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ฯลฯ ผสมเก็บไว้ในอัตราส่วน 1:1 เป็นหัวน้ำมันหอมที่เก็บเอาไว้ได้นาน
    
การผลิตน้ำหอมจากน้ำมันหอมง่ายมาก โรงงานทำน้ำหอมทั่วโลกใช้หลักการเดียวกัน กล่าวคือนำน้ำมันหอมระเหยมาผสมกับแอลกอฮอล์ชนิดเอธธิลแอลกอฮอล์ 95 % ตามอัตราส่วนที่ทั่วโลกแบ่งเกรดของน้ำหอมออกเป็น 4 เกรด
1.
เพอร์ฟูม                  มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ       16-25 %
2.
ออเดอเพอร์ฟูม         มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ       11-15 %
3.
ออโดทอยเล็ท           มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ         7-10 %
4.
ออเดอโคโลญจน์       มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ           4-6 %

           
ส่วนกลิ่นที่มีความแตกต่างกัน เป็นเพราะฝีมือการผสมข้ามกลิ่นของดอกไม้แต่ละชนิดซึ่งเป็นสูตรของแต่ละคน และเป็นลิขสิทธิ์ที่เป็นลับเฉพาะของผู้คิดค้น
            
ขั้นตอนในการผลิตน้ำหอมมีความซับซ้อนในด้านสูตร  ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้เพราะเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล ที่จะสรรหาดอกไม้มาสกัดหัวน้ำมันหอม แล้วนำหัวน้ำมันหอมมาผสมกันให้เกิดกลิ่นใหม่ ๆ จึงไม่มีสูตรและตำรากำหนดเอาไว้อย่างตายตัว
              
กรณีสกัดน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร  อาจจะส่งไปให้กับบริษัทยาต่าง ๆ พิจารณาคุณภาพ เช่นน้ำมันจากมินต์ใช้ทำเป็นยาขับลมได้ ไพรใช้น้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทากันยุงได้ ตะไคร้หอมก็มีคุณภาพกันยุงได้เช่นกัน ฯลฯ

            
กรรมวิธีการสกัดน้ำมันหอมจากดอกไม้และสมุนไพร มีวิธีการง่าย ๆ ถ้าท่านที่สนใจ ลองนำไปใช้และลงทุนทำดูโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีสูงมาก ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง
1.
แหล่งวัตถุดิบ
2.
ขั้นตอนการสร้างอุปกรณ์
3.
ขั้นตอนการจัดจำหน่ายและการหาตลาดเพิ่ม