วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า






การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

วัสดุและอุปกรณ์


1. ตะกร้าพลาสติก (ตะกร้าใส่ผลไม้) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูงประมาณ 11 นิ้ว มีตาห่างประมาณ 1 นิ้ว มีจำนวนช่องเป็นแถวจากล่างขึ้นบน 7 ช่อง ก้นตะกร้าไม่ทึบช่วยให้ระบายน้ำได้ดี

2. วัสดุเพาะ ที่นิยมได้แก่ ฟางข้าว, เปลือกถั่ว, ชานอ้อย เป็นต้น

3. อาหารเสริม เป็นวัสดุที่ช่วยให้เชื้อเห็ดฟางช่วงแรกที่ใส่ลงวัสดุเพาะเจริญได้ดีก่อนที่ เชื้อเห็ดฟางจะเจริญในวัสดุเพาะ อาหารเสริมต้องเป็นวัสดุที่ย่อยได้ง่าย เช่น

3.1 ผักตบชวา หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หั่นเฉียงแบบปลาฉลามขนาด 1-2 เซนติเมตร ใช้ได้ ทั้งต้น ใบ ราก จะใช้ผักตบชวาแห้งก็ได้
3.2 ไส้นุ่น ก่อนนำมาใช้ชุบน้ำพอหมาด
3.3 ต้นกล้วย หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นอกจากนี้อาจจะใช้แป้งสาลีหรือรำละเอียดอย่างใดอย่างหนึ่งนำมาคลุกเชื้อเห็ดฟาง ก่อนก็ได้

4. เชื้อเห็ดฟางที่ดี ถ้าเป็นแบบหัวเชื้อถุง 1 ถุง เพาะได้ 3 ตะกร้า หรือ เชื้อถุงเล็ก เพาะได้ 1 ตะกร้า

5. พลาสติกคลุมวัสดุเพาะขณะเพาะเห็ดฟางในตะกร้า จะใช้พลาสติกใสหรือสีก็ได้ ขนาด 4x4 เมตร หรือจะใช้ถุงพลาสติกเย็บติดต่อกัน เป็นผืนก็ได้หรือใช้พลาสติกใสขนาดกว้าง 2x4 เมตรก็ได้

6. วัสดุ+อุปกรณ์อื่นๆ เช่น บัวรดน้ำชนิดฝอยละเอียด, ไม้ทุบก้อนเชื้อเห็ด, เกรียงไม้(สำหรับอัดวัสดุเพาะเห็ด)

7. โครงไม้ไผ่หรือสุ่มไก่ สำหรับครอบตะกร้าเพาะเห็ดฟาง

การเตรียมวัสดุ+อุปกรณ์ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า


1.การเตรียมพื้นที่เพาะเห็ด

1.1 ใต้ร่มไม้ หรือใต้ถุนบ้านก็ได้
1.2 ปรับพื้นที่ทำความสะอาด
1.3 กำจัดมด ปลวก ให้เรียบร้อย โดยโรยปูนขาวให้ทั่วก่อนเพาะ 2-3 วัน รดน้ำพอให้พื้นที่ชุ่มชื้นพอสมควร

2. การเตรียมวัสดุเพาะ ฟางข้าวหรือเปลือกถั่วเขียว ชานอ้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง นำมาแช่น้ำก่อนเพาะ 1 คืน จากนั้นนำขึ้นจากน้ำ พร้อมที่จะนำไปเพาะได้

3.การเตรียมอาหารเสริม นิยมใช้ผักตบชวาสด เนื่องจากได้ผลดีที่สุด นำมาหั่นยาว ½ เซนติเมตร หั่นเฉียงถ้าใช้ไส้นุ่น ต้องแช่น้ำประมาณ 15 นาที บางคนใช้ขี้ไก่แห้งผสมดินอัตราส่วน 1:3 ควรเคล้าให้เข้ากันดี สามารถนำไปใช้ได้เลย

4. น้ำที่ใช้เพาะเห็ดฟาง ควรเป็นน้ำที่สะอาด จาก บ่อ หนอง คลอง หรือน้ำบาดาล ส่วนน้ำประปาที่ผสมคลอรีนใช้ไม่ได้

5. ตะกร้าพลาสติก ถ้าเป็นตะกร้าใหม่ใช้ได้เลย แต่ถ้าเป็นตะกร้าเก่า ต้องทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ ตากแดดไว้สักครึ่งวัน

6. การเตรียมเชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ดฟางขนาด 1 ปอนด์ ใช้อัตราส่วน 1 ถุง ต่อ 3 ตะกร้า

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า


ขั้นตอนที่ 1 นำวัสดุที่เตรียมไว้แล้ว ใส่ลงในตะกร้าสูงจากตะกร้าประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือสูง 2-3 นิ้ว กรณีถ้าเป็นขี้เลื่อยใช้เกรียงไม้กดขี้เลื่อยให้พอแน่นและให้ชิดขอบตะกร้า ให้มากที่สุด

ขั้นตอนที่ 2 โรยอาหารเสริมที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ลิตร หรือ 1 ชั้น บนขี้เลื่อยชิดข้างขอบตะกร้าประมาณ 1 ฝ่ามือ โดยรวม อย่าโรยอาหารเสริมหนาเกินไปเพระจะเกิดเน่าเสียได้

ขั้นตอนที่ 3 นำเชื้อเห็ดฟางออกจากถุง นำมาแยกออกเป็นชิ้นๆ นำไปคลุกกับแป้งสาลีพอติดผิวนอกของเชื้อเห็ด แป้งสาลีจะเป็นอาหารเบื้องต้นที่ช่วยกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญดีในระยะแรกๆ และแบ่งเชื้อเห็ดออกเป็น 3 ส่วน เท่าๆกัน นำส่วนที่ 1 โรยบนอาหารเสริมโดยรอบ

ขั้นตอนที่ 4 นำวัสดุเพาะชั้นที่ 2 ทำเหมือนชั้นที่ 1

ขั้นตอนที่ 5 ทำเหมือนขั้นที่ 1, 2 ชั้นที่ 3 จะต้องโรยอาหารเสริม เต็มผิวด้านบนหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยเชื้อเห็ดฟางโดยรอบ

ขั้นตอนที่ 6 นำน้ำประมาณ 2 ลิตร มารดด้านบนวัสดุให้ชุ่มเสร็จแล้วนำตะกร้านี้ไปวางไว้บนพื้นที่ในโรงเรือนที่เตรียมไว้

ขั้นตอนที่ 7 นำตะกร้ามาเรียงกัน 4-5 ใบเสร็จแล้ว จะใช้สุ่มไก่ครอบคลุมไว้

ขั้นตอนที่ 8 นำผ้าพลาสติกมาคลุมสุ่มไก่ด้านล่างควรหาอิฐ หรือดินทับโดยรอบ

ขั้นตอนที่ 9 การดูแล ในช่วง 1-4 วันแรก (ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน) ส่วนในฤดูหนาวช่วง 1-8 วัน ต้องควบคุมอุณหภูมิในสุ่มไก่ให้ได้ระดับ 37-40 องศาเซลเซียส
* ถ้าหากอุณหภูมิสูงเกินไป ให้เปิดช่องลมระบายอากาศด้านบน หรือรดน้ำรอบสุ่มไก่เพื่อลดอุณหภูมิลงก็ได้

ขั้นตอนที่ 10 เมื่อถึงวันที่ 4 (ฤดูร้อนหรือฝน) ให้เปิดพาสติกคลุมอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มีอาการถ่ายเทอากาศ เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างจุดกำเนิดดอกปกติรดน้ำเพียงเล็กน้อยถ้าวัสดุเพาะ แห้งเกินไป การรดน้ำจะเป็นการตัดเส้นใยเชื้อเห็ด ซึ่งจะกระตุ้นการสร้างจุดกำเนิดดอกได้ด้วย

ขั้นตอนที่ 11 ระหว่างวันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิในสุ่มไก่หรือกระโจมไม้ให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส และเมื่อเห็ดเป็นดอกเล็กๆ จำนวนมาก ห้ามเปิดพลาสติกบ่อยครั้งเพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อได้

ขั้นตอนที่ 12 การเก็บเกี่ยวผลผลิต ประมาณวันที่ 8-9 ในฤดูร้อนหรือวันที่ 12-15 ในฤดูหนาว

การเก็บ ให้ใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้จับดอกเห็ดฟางที่ได้ขนาดแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้น ดอกเห็ดก็จะหลุดออกมาโดยง่าย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น