วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สาโท


ลูกแป้งสาโท
(ย้ำว่าแป้งสาโทนะ แป้งข้าวหมากก็พอได้แต่ไม่ดี ส่วนที่มานั้นหาเอา เท่าที่เคยสัมผัสมา แป้งจากโซนอิสานจะค่อนข้างดีนะ แถว อุดร หนองบัวฯ)
ข้าวเหนียว (ให้หาข้าวใหม่นะครับ ข้าวเหนียวเก่าค้างปีไม่อร่อย)
กะละมัง สำหรับไว้คลุกแป้งสาโท กับข้าวเหนียว
ผ้าใบ หรืออะไรก็ได้ สำหรับผึ่งข้าวเหนียว
โอ่ง หรือถังสำหรับหมัก
พลาสติกสำหรับปิดผนึก พร้อมเชือก



ขั้นตอนการทำนะค่ะ

ขั้นแรกเนี่ยให้เอาลูกแป้งมาบดๆ ให้ละเอียดนะครับ สำหรับลูกแป้งเนี่ย แนะนำว่า ให้ถามคนขายก่อนว่า
จะต้องให้เท่าไหร่ กี่ลูกต่อข้าวเหนียว กี่หวด (กรณีทำน้อยๆ) หรือ กี่ลูกต่อข้าวเหนียวหนึ่งกิโลฯหรือกระสอบ

การบดลูกแป้งนั้น แนะนำว่า ให้ใส่ครกตำทีละน้อย
อย่างตำหลายลูกประว่ามันจะไม่ละเอียดพอ ใจเย็นๆ
ค่อยบดไป อย่าตำแรงเพราะมันจะฟุ้งเข้าจมูกได้

จากนั้นก็นึ่งข้าวเหนียวครับ (จริงๆ อาจจะนึ่งข้าวไว้ แล้วหันมาบดลูกแป้งก็ไม่ผิดกติกา)
ข้าวเหนียวที่นึงเนี่ย ก็ควรจะนึ่งให้สวย อย่าให้เละไปเกินไป

พอนึ่งเสร็จแล้ว ให้เอามาผึ่งให้เย็นนะครับ ย้ำว่าให้เย็น
เพราะว่า ไม่งั้นเชื้อจะตายหมด ผลคือทำให้ได้สาโทที่หมักบูด
หรือทำให้มันได้ไม่เต็มที่ กินแล้วท้องเสียได้

พอเย็นแล้วก็ให้เอาข้าวเหนียวใส่กะละมัง คลุกกับแป้งสาโทครับ
แนะนำว่า ให้คลุกทีละน้อยๆ อย่าเยอะเกินไป และให้บี้ๆ ให้ข้าวเหนียวแตกออกจากกัน
ไม่เป็นก้อนๆ อาจจะพรมๆ น้ำเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวกลับมาติดกันและติดมือด้วยนะครับ อย่าให้น้ำเยอะจนข้าวเละนะ

สาเหตุที่ต้องให้บี้ หรือแยกออกมาไม่ให้เป็นก้อนๆ เพราะว่า ไม่อย่างงั้นเชื้อจะเข้าไม่ทั่ว
และทำให้หมักไปอาจจะไม่อร่อย ไม่แรงเท่าที่มันควรจะเป็น
(Trick: แนะนำให้บี้ หรือขยี้ ข้าวเหนียวก่อนใส่แป้งลงไป อาจจะขยี้ๆ แล้วแผ่ให้เต็มกะละมัง แล้วค่อยโรยแป้งให้ทั่วๆ)

คลุกเคล้ากันไปเรื่อย ปริมาณแป้งที่ใส่ให้พอดีกันนะครับ
ในกรณีที่ทำเยอะ แนะนำให้แยกกันให้ดี ไม่งั้นบางอันได้แป้งสาโทมาก น้อยไม่เท่ากัน
กลายเป็นว่า บางโอ่งอร่อย บางโอ่งไม่อร่อย

พอคิดว่าคลุกทั่วไปล้ว ให้จัดการบีบๆ ข้าวเหนียวให้แน่นนะ ให้ทำเป็นก้อนๆ ก่อน
แล้วจากนั้นกดให้เป็นรูตรงกลาง ขนาดก็คิดว่า พอที่จะเอาแก้วลงไปตักน้ำสาโทมาชิมได้นั่นล่ะ
อีกอย่างหนึ่งคือ เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวให้ทุกส่วนได้สัมผัสอากาศทั่วๆ กันด้วย
เพราะอย่างลืมว่า เชื้อต้องใช้อากาศในการย่อยสลายแป้งให้เป็นน้ำตาลนะครับ

เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการปิดผนึกอย่าให้อากาศเข้านะ
รัดให้แน่ให้มั่นใจว่า ไม่รั่ว พลาสติกที่ปิดปากแนะนำว่าให้หนาหน่อย กันแตกด้วย

ส่วนสิ่งที่เอามาใส่สำหรับหมักนั้น แนะนำให้เป็นพวกเครื่องดินเผา จะทำให้หอมกว่า
กลิ่นจะไม่กระด้างแสบจมูกมากนัก เมื่อเทียบกับถังพลาสติกอ่ะนะ แต่ต้องไม่รั่ว หรือซึมนะ
ไม่งั้นอดไม่ได้กินหรอกเหอๆ บางโอ่งร้าวโดยที่เราไม่เห็นก็มีนะ

จากนั้นเอาไปไว้ในที่ร่ม อย่าให้โดนแดด เพราะอาจจะทำให้อากาศภายในร้อน เชื้อตายได้อีกนั่นล่ะ
ให้มักไว้ ประมาณอาทิตย์นึง หรือหากใครต้องการแรงๆ หน่อยก็ยาวไปถึง 11-12 วันก็ได้
ซึ่งในระหว่างนั้น หากต้องการเช็คก็เปิดฝามาชิมได้ แต่อย่างบ่อย ไม่งั้นเสีย

ขั้นสุดท้ายคือ การผ่าน้ำ

การผ่าน้ำ คือการใช้น้ำต้มสุกมาเทใส่ ซึ่งใครต้องการให้เข้มอาจจะใส่ไม่ต้องเต็มโอ่งก็ได้
แต่ถ้าหากใครต้องการให้กินเรื่อยๆ ก็ใส่น้ำเกือบๆ เต็มโอ่ง แล้วปิดฝาทิ้งไว้ ถ้าต้องการกินด่วน
วันเดียวก็เอาได้แล้ว ถ้าต้องการให้แรงหน่อยก็ซักสองสามวัน ทีนี้ล่ะเมามันส์

ถ้าใครต้องการสูตรให้หวานกินง่าย เมาปลิ้น ก็ให้ใส่น้ำน้อยหน่อยไม่ต้องเต็มโอ่งนะ
แต่น้ำต้มที่ใส่ให้ผสมน้ำตาลลงไปจะช่วยให้หวานกินง่าย

จริงๆแล้ว แต่ละสูตรจะต่างกันตรงปริมาณน้ำตาลที่ใส่ลงไปเพิ่มเติมนี่ล่ะ
เพราะว่าแต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน ถ้าเอาแบบลูกทุ่งสุดเค้าไม่เติมน้ำตาลกันเลยล่ะ
แต่ถ้าเอาให้กินกันหลายๆคน กินง่ายก็เติมน้ำตาลลงไป

ทริคนิดหน่อย หลายคนพบว่ากินสาโทแล้วมีอาการท้องเสีย
เพราะคนที่ทำมักง่ายจ้วงน้ำต้มเทลงไปไม่ระวัง
ทำให้เศษข้าวเหนียวมันแตกกระจายออกมา
มันคือกากที่มักจะทำให้ท้องเสียได้ง่าย ดังนั้นควรระวังไว้ด้วยนะ

ต่อมาคือ ในการผ่าน้ำ ถ้าต้องการให้สาโทหอม ก่อนปิดฝา แนะนำให้หา
ใบใผ่ หรือใบข้าว ใส่ลงไปนิดหน่อย จะช่วยให้หอมขึ้นไป
ถ้าเป็นใบไผ่ น้ำสาโทจะมีสีออกเขียวๆ นะ แต่ถ้าใบข้าวน้ำออกสีขาวนวลๆ
แต่อย่าใส่เยอะ ไม่งั้นมันจะฝาดๆ ไม่อร่อย สักสี่ห้าใบพอเป็นพิธีพอ

ที่มา : http://www.kaikaew.com/index.php?topic=80.0
          http://www.suthee.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น