หัวน้ำหอมที่ส่งมาจากประเทศฝรั่งเศสจะมีราคาแพงมาก ประเทศไทยต้องเสียดุลการค้าด้านนี้ไม่น้อยเพราะในประเทศไทยยังไม่มีใครกล้าลงทุนด้านนี้อย่างจริงจังทั้ง ๆ ที่มีดอกไม้มากไม่แพ้ฝรั่งเศส โดยเฉพาะดอกกล้วยไม้ ประเทศเรามีชื่อเสียงมาเป็นเวลานาน
การผลิตน้ำหอมจากดอกไม้ จะต้องลงทุนด้านวัตถุดิบในปริมาณสูงมาก เช่น ดอกมะลิน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม อาจจะผลิตหัวน้ำหอมบริสุทธิ์ได้เพียงครึ่งถึงหนึ่งลิตรเท่านั้น แต่หัวน้ำหอมบริสุทธิ์ 1 ลิตรนี้ สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นหัวน้ำหอม และทำประโยชน์ด้านอื่นอีกมหาศาล
ขั้นตอนการผลิตหัวน้ำหอมบริสุทธิ์จากดอกไม้
ดอกไม้ที่นำมาผลิตน้ำหอมได้คือ ดอกมะลิ , กุหลาบ , กล้วยไม้ , ดมแมว , จำปี , กระดังงา , พุดซ้อน ตลอดจนดอกไม้ทุกชนิดที่มีกลิ่นหอม
สมุนไพรที่สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ คือ ต้นมินต์, ไพร, ตะไคร้หอมและสมุนไพร ชนิดอื่น ๆ ที่มีน้ำมันหอมระเหย
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการสกัดน้ำมันหอมจากดอกไม้และสมุนไพร (ใช้หลักการเดียวกัน)
1. แหล่งกำเนิดไอน้ำ
2. ภาชนะบรรจุวัตถุดิบ
3. เครื่องควบแน่น
4. เครื่องมือดักน้ำมันหอม
อุปกรณ์ที่จำเป็นเหล่านี้ ท่านสามารถออกแบบเองได้ โดยอาศัยหลักการที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานในการออกแบบเครื่องมือผลิตน้ำมันหอม
ปกติการเก็บน้ำมันหอมของดอกไม้หรือสมุนไพร อาจจะนำไปผสมกับน้ำมันพืชบริสุทธิ์ ที่ปราศจากสีและกลิ่น เช่น น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ฯลฯ ผสมเก็บไว้ในอัตราส่วน 1:1 เป็นหัวน้ำมันหอมที่เก็บเอาไว้ได้นาน
การผลิตน้ำหอมจากน้ำมันหอมง่ายมาก โรงงานทำน้ำหอมทั่วโลกใช้หลักการเดียวกัน กล่าวคือนำน้ำมันหอมระเหยมาผสมกับแอลกอฮอล์ชนิดเอธธิลแอลกอฮอล์ 95 % ตามอัตราส่วนที่ทั่วโลกแบ่งเกรดของน้ำหอมออกเป็น 4 เกรด
1.เพอร์ฟูม มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ 16-25 %
2.ออเดอเพอร์ฟูม มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ 11-15 %
3.ออโดทอยเล็ท มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ 7-10 %
4.ออเดอโคโลญจน์ มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ 4-6 %
ส่วนกลิ่นที่มีความแตกต่างกัน เป็นเพราะฝีมือการผสมข้ามกลิ่นของดอกไม้แต่ละชนิดซึ่งเป็นสูตรของแต่ละคน และเป็นลิขสิทธิ์ที่เป็นลับเฉพาะของผู้คิดค้น
ขั้นตอนในการผลิตน้ำหอมมีความซับซ้อนในด้านสูตร ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้เพราะเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล ที่จะสรรหาดอกไม้มาสกัดหัวน้ำมันหอม แล้วนำหัวน้ำมันหอมมาผสมกันให้เกิดกลิ่นใหม่ ๆ จึงไม่มีสูตรและตำรากำหนดเอาไว้อย่างตายตัว
กรณีสกัดน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร อาจจะส่งไปให้กับบริษัทยาต่าง ๆ พิจารณาคุณภาพ เช่นน้ำมันจากมินต์ใช้ทำเป็นยาขับลมได้ ไพรใช้น้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทากันยุงได้ ตะไคร้หอมก็มีคุณภาพกันยุงได้เช่นกัน ฯลฯ
กรรมวิธีการสกัดน้ำมันหอมจากดอกไม้และสมุนไพร มีวิธีการง่าย ๆ ถ้าท่านที่สนใจ ลองนำไปใช้และลงทุนทำดูโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีสูงมาก ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง
1. แหล่งวัตถุดิบ
2. ขั้นตอนการสร้างอุปกรณ์
3. ขั้นตอนการจัดจำหน่ายและการหาตลาดเพิ่ม
การผลิตน้ำหอมจากดอกไม้ จะต้องลงทุนด้านวัตถุดิบในปริมาณสูงมาก เช่น ดอกมะลิน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม อาจจะผลิตหัวน้ำหอมบริสุทธิ์ได้เพียงครึ่งถึงหนึ่งลิตรเท่านั้น แต่หัวน้ำหอมบริสุทธิ์ 1 ลิตรนี้ สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นหัวน้ำหอม และทำประโยชน์ด้านอื่นอีกมหาศาล
ขั้นตอนการผลิตหัวน้ำหอมบริสุทธิ์จากดอกไม้
ดอกไม้ที่นำมาผลิตน้ำหอมได้คือ ดอกมะลิ , กุหลาบ , กล้วยไม้ , ดมแมว , จำปี , กระดังงา , พุดซ้อน ตลอดจนดอกไม้ทุกชนิดที่มีกลิ่นหอม
สมุนไพรที่สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ คือ ต้นมินต์, ไพร, ตะไคร้หอมและสมุนไพร ชนิดอื่น ๆ ที่มีน้ำมันหอมระเหย
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการสกัดน้ำมันหอมจากดอกไม้และสมุนไพร (ใช้หลักการเดียวกัน)
1. แหล่งกำเนิดไอน้ำ
2. ภาชนะบรรจุวัตถุดิบ
3. เครื่องควบแน่น
4. เครื่องมือดักน้ำมันหอม
อุปกรณ์ที่จำเป็นเหล่านี้ ท่านสามารถออกแบบเองได้ โดยอาศัยหลักการที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานในการออกแบบเครื่องมือผลิตน้ำมันหอม
ปกติการเก็บน้ำมันหอมของดอกไม้หรือสมุนไพร อาจจะนำไปผสมกับน้ำมันพืชบริสุทธิ์ ที่ปราศจากสีและกลิ่น เช่น น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ฯลฯ ผสมเก็บไว้ในอัตราส่วน 1:1 เป็นหัวน้ำมันหอมที่เก็บเอาไว้ได้นาน
การผลิตน้ำหอมจากน้ำมันหอมง่ายมาก โรงงานทำน้ำหอมทั่วโลกใช้หลักการเดียวกัน กล่าวคือนำน้ำมันหอมระเหยมาผสมกับแอลกอฮอล์ชนิดเอธธิลแอลกอฮอล์ 95 % ตามอัตราส่วนที่ทั่วโลกแบ่งเกรดของน้ำหอมออกเป็น 4 เกรด
1.เพอร์ฟูม มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ 16-25 %
2.ออเดอเพอร์ฟูม มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ 11-15 %
3.ออโดทอยเล็ท มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ 7-10 %
4.ออเดอโคโลญจน์ มีหัวน้ำหอมในแอลกอฮอล์ประมาณ 4-6 %
ส่วนกลิ่นที่มีความแตกต่างกัน เป็นเพราะฝีมือการผสมข้ามกลิ่นของดอกไม้แต่ละชนิดซึ่งเป็นสูตรของแต่ละคน และเป็นลิขสิทธิ์ที่เป็นลับเฉพาะของผู้คิดค้น
ขั้นตอนในการผลิตน้ำหอมมีความซับซ้อนในด้านสูตร ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้เพราะเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล ที่จะสรรหาดอกไม้มาสกัดหัวน้ำมันหอม แล้วนำหัวน้ำมันหอมมาผสมกันให้เกิดกลิ่นใหม่ ๆ จึงไม่มีสูตรและตำรากำหนดเอาไว้อย่างตายตัว
กรณีสกัดน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร อาจจะส่งไปให้กับบริษัทยาต่าง ๆ พิจารณาคุณภาพ เช่นน้ำมันจากมินต์ใช้ทำเป็นยาขับลมได้ ไพรใช้น้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทากันยุงได้ ตะไคร้หอมก็มีคุณภาพกันยุงได้เช่นกัน ฯลฯ
กรรมวิธีการสกัดน้ำมันหอมจากดอกไม้และสมุนไพร มีวิธีการง่าย ๆ ถ้าท่านที่สนใจ ลองนำไปใช้และลงทุนทำดูโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีสูงมาก ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง
1. แหล่งวัตถุดิบ
2. ขั้นตอนการสร้างอุปกรณ์
3. ขั้นตอนการจัดจำหน่ายและการหาตลาดเพิ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น